ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

ul { list-style-type: none; margin: 0; padding: 1em; color: #ccc; } li { display: inline-block; position: relative; padding-right: 2em; margin: 0; } li:after { content: '>'; position: absolute; display: inline-block; right: 0; width: 2em; text-align: center; } li:last-child:after { content: ''; } a { font-family: 'Prompt', sans-serif; text-decoration: none; display: inline-block; color: #004a8b; white-space: normal; } a:hover { text-decoration: none; }

     ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติบนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ (1) “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่น ๆ นำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ (2) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคตผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต และ (3) “สร้างคุณค่าใหม่ ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคตบนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน  พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลกควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางและลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน

ตัวชี้วัด

2-แข่งขัน1
รายได้ประชาชาติ การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ และการกระจายรายได้
2-แข่งขัน2
ผลิตภาพการผลิตของประเทศทั้งในปัจจัยการผลิตและแรงงาน
2-แข่งขัน3
การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา
2-แข่งขัน4
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

สื่อที่เกี่ยวข้อง