แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา

การปฏิรูปการศึกษา มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และปฏิรูประบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับความหลากหลายของการจัดการศึกษาและตอบโจทย์การพัฒนาของโลกอนาคต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนทุกกลุ่มวัยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะที่จำเป็นของโลกอนาคต สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล มีวินัย มีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่าง
ต่อเนื่องตลอดชีวิต และเป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรักและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย

  • รายชื่อคณะกรรมการ/อนุกรรมการ
  • แผนการปฏิรูปประเทศ
  • Timeline เป้าหมาย
    การขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock
  • ข่าวสาร/ความเคลื่อนไหว
    ของกรรมการ
  • การดำเนินงานของ
    หน่วยงานขับเคลื่อน
  • รายงานความคืบหน้า
    ในการดำเนินการ
  • สื่อ/เอกสารเผยแพร่

รายชื่อคณะกรรมการปฎิรูปประเทศด้านการศึกษา

นายวรากรณ์ สามโกเศศ
ประธานกรรมการ

นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร
รองประธานกรรมการ

นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
รองประธานกรรมการ

นายศักรินทร์ ภูมิรัตน
กรรมการ

นางประพันธ์ศิริ สุเสารัจ
กรรมการ

นายศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์
กรรมการ

นายศิริเดช สุชีวะ
กรรมการและโฆษก

นายสมภพ มานะรังสรรค์
กรรมการ

นายวิวัฒน์ เรืองเลืศปัญญากุล
กรรมการ

79e715dc92adfed8ab64726674c77c7dc3d0fd7d82d6da1fff84db67ce0a82b7

นายไกรยส ภัทราวาท
กรรมการ

นางสาวกานดา ชูเชิด
กรรมการและเลขานุการ

รายชื่อคณะอนุกรรมการปฎิรูปประเทศด้านการศึกษา

นายไกรยส   ภัทราวาท

นางประพันธ์ศิริ  สุเสารัจ

นายจิรุตม์  ศรีรัตนบัลล์

นายชัยพฤกษ์  เสรีรักษ์

นายอนุชาติ  พวงสำลี

นายประวิต  เอราวรรณ์

นายกฤษดา  เรืองอารีย์รัชต์

นายพงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล

นายภูมิศรัณย์  ทองเลี่ยมนาค

นางสาวณัฐิกา  นิตยาพร

นางสาวบุญทวี  เทียมวัน

ประธานอนุกรรมการ

รองประธานอนุกรรมการ

รองประธานอนุกรรมการ

อนุกรรมการ

อนุกรรมการ

อนุกรรมการ

อนุกรรมการ

อนุกรรมการ

อนุกรรมการ

อนุกรรมการและเลขานุการร่วม

อนุกรรมการและเลขานุการร่วม

แผนการปฎิรูปประเทศด้านการศึกษา

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง

Timeline เป้าหมายการขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock

Big Rock 1 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย

  • MS1 เด็กปฐมวัยในช่วงก่อนวัยเรียน (3-5 ปี) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการและได้รับโอกาสทางการศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
              MS1.1 มีระบบการคัดกรองเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยจากครอบครัวที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผู้พิการ ด้อยโอกาส ให้ได้รับการพัฒนาที่สมวัย

  • MS2 เด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงในการหลุดออกจากระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐานได้รับการป้องกันเฝ้าระวังการหลุดออกนอกระบบ รวมถึงเด็กที่หลุดออกนอกระบบไปแล้วสามารถกลับสู่ระบบหรือพัฒนาทักษะที่จำเป็นที่เหมาะสม

              MS2.1 พัฒนาระบบการค้นหาเฝ้าระวังติดตามและช่วยเหลือเด็กให้เข้าถึงการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

              MS2.2 มีระบบการติดตามช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าศึกษาต่อ/พัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพที่เหมาะสม

  • MS3 ประชากรวัยแรงงานมีทักษะพี้นฐานด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นต่อการทำงาน

                MS3.1 มีการพัฒนาเครื่องมือการประเมินศักยภาพของประชากรกลุ่มวัยแรงงาน (Adult Skills Survey) เช่น พื้นฐานด้านการอ่านและคณิตศาสตร์และทำการจัดเก็บและรายงานข้อมูลต่อสาธารณะทุก 3 ปี

  • MS4 มีการสร้างระบบหลักประกันโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

                MS4.1 มีระบบฐานข้อมูลแบบเปิด (Open Data) และระบบการติดตามเด็กและเยาวชนนับตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงวัยทำงาน นับตั้งแต่ระดับประถมวัยสู่ระดับประถมศึกษา (School Readiness Survey) การสำรวจและประเมินทักษะความพร้อมของเยาวชนในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน (Career Readiness Survey) ไปจนถึงระบบฐานข้อมูลและการติดตามในหลายมิติของคุณภาพชีวิต

                MS4.2 สนับสนุนการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็กอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

Big Rock 2 การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

  • MS1 ผู้เรียนทุกระดับมีความรอบรู้ที่จำเป็น (essential literacy) และสมรรถนะหลัก (Core Comepency) ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
             
    MS1.1 มีหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นบนฐานของสามมโนทัศน์หลักคือ Career Education, Competency Building และ Creative Education ซึ่งผู้เรียนทุกระดับได้มีโอกาสพัฒนาตนเองตามความถนัดและความสนใจเป็นรายบุคคล จนสามารถประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อในวิชาชีพขั้นสูงได้

             MS1.2 มีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกระดับเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์การเรียนรู้ เพื่อให้เกิดสมรรถนะหลักและการพัฒนาตนเองตามความถนัดและความสนใจ (Active leraning)

             MS1.3 มีรูปแบบการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับที่เน้นการปฏิบัติ (Performance-based Assessment) และการพัฒนาการเรียนรู้ (Assessment for Learning)

             MS1.4 มีแพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัลสำหรับผู้เรียนทุกระดับในความรอบรู้ที่จำเป็นและสมรรถนะหลักรวมถึงความถนัดและความสนใจรายบุคคล

             MS1.5 มีระบบนิเวศการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับที่เน้นการมีส่วนร่วมและการสร้างสรรค์นวัตกรรม

Big Rock 3 การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน

  • MS1 การพัฒนารูปแบบกระบวนการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เข้าเรียนครูและการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินคุณลักษณะความเป็นครู

  • MS2 การพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรผลิตครูตามสาขาวิชาและบริบทพื้นที่เพื่อสร้างความเป็นเลิศ

  • MS3 พัฒนารูปแบบ กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและระบบการนิเทศการศึกษาและการสอนงานของครูพี่เลี้ยงเพื่อเตรียมครูที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

  • MS4 กำหนดสมรรถนะและการพัฒนามาตรฐานและชี้วัดสมรรถนะอาจารย์ประจำหลักสูตรวิชาชีพครูของสถาบันผลิตครู และการพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรให้มีสมรรถนะ

  • MS5 กำหนดสมรรถนะและการพัฒนามาตรฐานและตัวชี้วัด สมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาตามความต้องการจำเป็น

  • MS6 การจัดทำกลไกการสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

  • MS7 การปรับปรุงระบบการประเมินการปฏิบัติงานและสมรรถนะวิชาชีพครู

  • MS8 การพัฒนาระบบกลไกการเลื่อนวิทยฐานะ และค่าตอบแทนที่เหมาะสม

Big Rock 4 การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ นำไปสู่การจ้างงานและการสร้างงาน

  • MS1 พัฒนาระบบความร่วมมือการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูป

  • MS2 สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูป โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน

  • MS3 ประกันคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาให้มีความพร้อมเข้าสู่อาชีพ

Big Rock 5 การปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยออกจาก
กับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน

  • MS1 กระบวนการผลิตพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ

             MS1.1 รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อการพัฒนาทักษะ และสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต (มาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ยืดหยุ่น)

             MS1.2 ระบบงบประมาณการผลิตและพัฒนากำลังคนในลักษณะ demand side financing

  • MS2 ปฎิรูประบบการวิจัยและนวัตกรรม

             MS2.1 ระบบงบประมาณที่เอื้อต่อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม

  • MS3 ธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาทุกระดับ

             MS3.1 ปรับระบบการสรรหาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ให้เกิดธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้

การประชุมคณะกรรมการ

ข่าวสาร

สารจากกรรมการ

ชื่อหน่วยงาน

ชื่อการดำเนินงาน/กิจกรรม

รายละเอียดกิจกรรม

ชื่อการดำเนินงาน/กิจกรรม

รายละเอียดกิจกรรม

ชื่อหน่วยงาน

ชื่อการดำเนินงาน/กิจกรรม

รายละเอียดกิจกรรม

ชื่อการดำเนินงาน/กิจกรรม

รายละเอียดกิจกรรม

การรายงาน รายไตรมาสตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ ด้านการศึกษา

ปี 2563

ปี 2562

รายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนปฎิรูปประเทศ ด้านการศึกษา

ปี 2563

เอกสารเผยแพร่

สื่อวีดิโอ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Close Menu