อภิธานศัพท์ ครั้งที่ 1
คำศัพท์
ความหมาย
ที่มา
ปรากฏอยู่ใน
เกษตรผสมผสาน
ระบบการเกษตรที่มีการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ มีสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดจะต้องสามารถเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในไร่นาอย่างเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร และเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). เกษตรผสมผสาน, 5 มิถุนายน 2562.
https://www.moac.go.th/philosopher-sustainable_agri-preview-382891791795
ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 5 หน้าที่ 53
แผนแม่บทประเด็นที่ 3 หน้าที่ 9
เกษตรพันธสัญญา
ระบบการผลิตผลิตผลหรือบริการทางการเกษตรที่เกิดขึ้นจากสัญญาการผลิตผลิตผลหรือบริการทางการเกษตรประเภทเดียวกันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ ทางการเกษตรฝ่ายหนึ่งกับบุคคลธรรมดาซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมตั้งแต่สิบรายขึ้นไป หรือกับสหกรณ์การเกษตรหรือกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ หรือกับวิสาหกิจชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมอีกฝ่ายหนึ่งที่มีเงื่อนไขในการผลิต จําหน่าย หรือจ้างผลิตผลิตผลหรือบริการทางการเกษตรอย่างหนึ่งอย่างใด โดยเกษตรกรตกลงที่จะผลิต จําหน่าย หรือรับจ้างผลิตผลิตผลทางการเกษตรตามจํานวน คุณภาพ ราคา หรือระยะเวลาที่กําหนดไว้ และผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรตกลงที่จะซื้อผลิตผลดังกล่าวหรือจ่ายค่าตอบแทนตามที่กําหนดไว้ตามสัญญา โดยผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรเข้าไปมีส่วนในกระบวนการผลิตเช่น เป็นผู้กําหนดวิธีการผลิต จัดหาพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หรือปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560. (2560, 22 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 56 ก. หน้า 1-2. , 6 มิถุนายน 2562
https://www2.moac.go.th/download/law-commitment-agri.pdf
แผนการปฏิรูปที่ 5 หน้าที่ 225
เขตเกษตรเศรษฐกิจ
เขตการผลิตทางการเกษตรซึ่งรวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการปลูกป่าที่กำหนดขึ้นให้เหมาะสมกับภาวะตลาดและเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศ โดยคำนึงถึงสภาพที่คล้ายคลึงกันของปัจจัยหลัก เช่น ดินฟ้าอากาศ แหล่งน้ำ พืชที่ปลูก สัตว์ที่เลี้ยง ประเภทของเกษตรกรรมและรายได้หลักของเกษตรกร
พระราชบัญญัติเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 (2522, 23 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96 ตอนที่ 40 หน้า 20, 6 มิถุนายน 2562
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2522/A/040/19.PDF
แผนแม่บทประเด็นที่ 6 หน้าที่ 11
เครื่องหมายรับรองฉลากเขียว ตะกร้าเขียว
ฉลากสิ่งแวดล้อมที่กรมควบคุมมลพิษจัดทำขึ้นโดยพิจารณาจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขั้นตอนต่างๆของสินค้าและบริการ ได้แก่ การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การให้บริการ การขนส่ง การใช้งาน และการกำจัดทิ้งเพื่อให้ภาครัฐใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสัญลักษณ์ตระกร้าเขียวยังไม่มีการดำเนินการในการออกฉลากเพื่อติดบนสินค้า แต่จะดำเนินการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภาครัฐ และศึกษาคัดเลือก กำหนดหลักเกณฑ์ของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรวมทั้งรวบรวมข้อมูลสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รู้จักฉลากตะกร้าเขียวและหลักเกณฑ์การได้รับตะกร้าเขียว, 28 มิถุนายน 2562
https://scpdatacenter.deqp.go.th/articledetail.php?id=14
แผนการปฏิรูปที่ 6 หน้าที่ 362
เงินเฟ้อ
ภาวการณ์ที่อาจเป็นปรากฏการณ์ทางการเงิน (monetary phenomenon) หรืออาจเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจริง (real phenomenon) ที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทั้งนี้อาจจะเกิดจากด้านอุปสงค์ เช่น การที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมากเกินไป ทำให้ค่าของเงินลดลง ความต้องการใช้จ่ายรวมมากเกินไป หรือการใช้จ่ายของรัฐมีมากเกินไป นอกจากนี้ ภาวะเงินเฟ้ออาจจะเกิดจากด้านอุปทาน เช่น ราคาน้ำมันสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. (2011). เงินเฟ้อ, 6 มิถุนายน 2562
http://www.royin.go.th/dictionary/.
แผนการปฏิรูปที่ 3 หน้าที่ 12
เงินบำนาญ
เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539. (2539, 26 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 ตอนที่ 42 ก หน้า 2, 12 มิถุนายน 2562
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/A/042/1.PDF
แผนการปฏิรูปที่ 5 หน้าที่ 209
เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่/ฐานข้อมูลขนาดใหญ่
เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจำนวนมหาศาลมาวิเคราะห์ ประมวลผล และแสดงผลด้วยวิธีที่เหมาะสม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาด ใหญ่ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้ง่ายขึ้น เพื่อประโยชน์ในการวางแผน หรือการตัดสินใจ เรียกว่า big data analytics
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, 23 กรกฎาคม 2562
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/047/T_0001.PDF
ยุทธศาสตร์ที่ 6 หน้าที่ 55
แผนแม่บทประเด็นที่ 20 หน้าที่ 16
เมืองอัจฉริยะ
เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดีและการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน
สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (ม.ป.ป). นิยาม “เมืองอัจฉริยะ,” 12 มิถุนายน 2562
https://smartcitythailand.or.th/web?web008
ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 4 หน้าที่ 41
แผนแม่บทประเด็นที่ 6 และ 9 หน้าที่ 1 และ 6
อนุสัญญา
ความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องที่สำคัญเฉพาะเรื่อง ที่ทำเป็นตราสารสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับสนธิสัญญา เช่น อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยสงคราม อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยเชลยศึกและผู้บาดเจ็บ
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (2554). อนุสัญญา, 6 มิถุนายน 2562
http://www.royin.go.th/dictionary
แผนแม่บทประเด็นที่ 1 หน้าที่ 19
อาชญากรรมทางไซเบอร์
การก่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นการกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ โดยมิชอบโดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562. (2562,27 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 69 ก. หน้า 21.
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/069/T_0020.PDF
ยุทธศาสตร์ที่ 1 หน้าที่ 13