คำถามที่พบบ่อย

การปฏิรูปประเทศเป็นการดำเนินการตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในหมวด 16 ของรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งมาตรา 258 กำหนดให้มีการดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล โดยมี (ก) ด้านการเมือง (ข) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ค) ด้านกฎหมาย (ง) ด้านกระบวนการยุติธรรม (จ) ด้านการศึกษา และ (ฉ) ด้านอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข และด้านสังคม

แผนการปฏิรูประเทศประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2561 โดยประกอบด้วยการปฏิรูปประเทศ 12 ด้าน ได้แก่

(1) ด้านการเมือง
(2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
(3) ด้านกฎหมาย
(4) ด้าน กระบวนการยุติธรรม
(5) ด้านเศรษฐกิจ
(6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(7) ด้านสาธารณสุข
(8) ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ
(9) ด้านสังคม
(10) ด้านพลังงาน
(11) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(12) ด้านการศึกษา
และได้มีการประกาศใช้แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรังปรุง) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 โดยเพิ่มเติมการปฏิรูปประเทศด้านที่
(13) ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

แผนการปฏิรูปประเทศได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามมาตรา 257 และ 258 ของรัฐธรรมนูญฯ แล้ว โดยสามารถดูรายละเอียด
ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิรูปประเทศ ได้ที่ http://nscr.nesdc.go.th/cr-ach/ หรือสแกน QR Code

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 2/2565 ที่ได้เห็นชอบแนวทางการดำเนินการภายหลังการสิ้นสุดการปฏิรูปประเทศ โดยให้ทุกหน่วยงานดำเนินการทบทวนยกเลิกกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ กลไก และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับ
การปฏิรูปประเทศ ทำให้มีการทบทวน ปรับปรุง แก้ไข และสิ้นสุดการดำเนินการต่างๆ ดังนี้

  • ทบทวนพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560
  • ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีหรือข้อสั่งการที่เกี่ยวข้องกันแผนการปฏิรูปประเทศ
  • ทบทวนความจำเป็นและความเหมาะสมของสำนักงาน ป.ย.ป. ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16 ของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 19/2561
  • สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศซึ่งครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2565 โดยให้คงเหลือเฉพาะหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานสรุปผล
    การดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศประจำปี 2565 ในที่ประชุมร่วมประธานกรรมการปฏิรูปประเทศทุกคณะ
  • การรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ รอบเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2565 (ครั้งที่ 18) เป็นรอบรายงานสุดท้าย โดยสามารถ
    เรียกดูรายงานได้ที่ http://nscr.nesdc.go.th/270-report/ หรือ สแกน QR Code

  • การรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศประจำปี 2565 เป็นรายงานฉบับสุดท้าย
    โดยสามารถเรียกดูรายงานได้ที่ http://nscr.nesdc.go.th/nscr_report/ หรือสแกน QR Code

แม้ว่าแผนการปฏิรูปประเทศสิ้นสุดลงแล้ว แต่การดำเนินการปฏิรูปประเทศตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ ยังคงจำเป็นต้องมีการดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิรูปประเทศมีความยั่งยืน โดยให้หน่วยงานของรัฐทั้งหน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานร่วมดำเนินการนำประเด็นปฏิรูปประเทศ มาดำเนินการต่อเนื่องต่อไป ผ่านกลไกของแผนระดับที่ 2 แผนระดับที่ 3 และการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ยั่งยืนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ

สามารถติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการปฏิรูปประเทศได้ผ่านการดำเนินการตามแผนระดับที่ 2 และแผนระดับที่ 3 ในประเด็นที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน โดยใช้ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เป็นเครื่องมือหลักเพื่อให้หน่วยงานรัฐยังคงมีการดำเนินการปฏิรูปประเทศต่อเนื่องให้ผลสัมฤทธิ์เกิดความยั่งยืนต่อไป

คือ action plan ของหน่วยงานของรัฐทุกแผน ยกเว้น ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ 

เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในประเด็นการพัฒนาประเทศ และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถถ่ายทอดเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ผ่านแผนระดับต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม

(ตามมติ ครม. วันที่ 4 ธ.ค. 2560)
แผนต่าง ๆ นอกเหนือจากยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับที่ 1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (แผนระดับที่ 2) จัดเป็นแผนระดับที่ 3 ทั้งหมด ประกอบด้วย
(1) แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี
(2) แผนปฏิบัติราชการรายปี
(3) แผนปฏิบัติการด้าน…
(4) แผนระดับที่ 3 ระดับพื้นที่

แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี เป็นกรอบการดำเนินงานในระยะ 5 ปี ให้บรรลุภารกิจหลักของหน่วยงานของรัฐ และขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายของแผนระดับที่ 2 โดยระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ตลอดจนโครงการ/การดำเนินการ งบประมาณและทรัพยากรอื่นที่คาดว่าจะใช้ในช่วงระยะเวลา 5 ปี

ขณะที่ แผนปฏิบัติราชการรายปี เป็นแผนที่จัดทำขึ้นในแต่ละปีงบประมาณ ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี โดยระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ประมาณการรายได้ รายจ่าย และทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้

แผนปฏิบัติการด้าน… เป็นแผนเชิง Issue Base จัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน ที่มีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานมากกว่า 1 กระทรวงขึ้นไป ขณะที่ แผนปฏิบัติราชการ เป็นแผนหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติโดยเป็นแผนการดำเนินงานของหน่วยงานเองในระยะ 5 ปี และ
รายปี

หน่วยงานสามารถเข้าใช้งานระบบผ่านทางเว็บไซต์ emenscr.nesdc.go.th โดยการ log in ด้วย username และ password สำหรับเข้าระบบอีเมนซ์ของหน่วยงาน

• หน่วยงานภาครัฐ
• วุฒิสภา และคณะกรรมาธิการ
• หัวหน้าฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ และองค์กรอัยการ

• หน่วยงานภาครัฐ
• วุฒิสภา และคณะกรรมาธิการ
• หัวหน้าฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ และองค์กรอัยการ
• ประชาชน

• ทุกส่วนราชการสามารถใช้ระบบในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล นโยบาย แผนงาน โครงการภาครัฐ (One Report) บน platform เดียวกัน
• สนับสนุนระบบ paperless มุ่งสู่ Digital Government
• มีช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามและตรวจสอบการดำเนินงาน/โครงการของหน่วยงานภาครัฐ
• เป็นระบบฐานข้อมูลกลางที่เชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนราชการต่าง ๆ ได้อย่าง
บูรณาการ สามารถช่วยลดภาระการให้ข้อมูลเพื่อประกอบการชี้แจงต่าง ๆ ของหน่วยงานได้

หน่วยงานจะสามารถนำเข้าข้อมูลโครงการใหม่ ได้ในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ หากเป็นโครงการระหว่างปีจะต้องนำเข้าในช่วงเดือน ม.ค. / เม.ย. / ก.ค. เท่านั้น

ไตรมาสที่ 1 (1 ต.ค. – 30 ธ.ค.) รายงานภายในวันที่ 1 – 30 ม.ค.
ไตรมาสที่ 2 (1 ม.ค. – 30 มี.ค.) รายงานภายในวันที่ 1 – 30 เม.ย.
ไตรมาสที่ 3 (1 เม.ย. – 30 มิ.ย.) รายงานภายในวันที่ 1 – 30 ก.ค.
ไตรมาสที่ 4 (1 ก.ค. – 30 ก.ย.) รานงานภายในวันที่ 1 – 30 ต.ค.
(รายงานภายในระยะเวลา 30 วัน หลังสิ้นสุดไตรมาส)

ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนตลอดทุกช่วงวัย และการแก้ไขปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำแบบชี้เป้า ระบบ TPMAP จึงสามารถใช้ระบุปัญหาความยากจนและความต้องการการพัฒนาของแต่ละช่วงวัยได้ในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น/ท้องที่ จังหวัด ประเทศ หรือปัญหาความยากจนรายประเด็น ซึ่งทำให้การแก้ปัญหาตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นและสามารถออกแบบนโยบายหรือโครงการในการแก้ปัญหาให้ตรงกับความต้องการหรือสภาพปัญหาได้ ดังนั้น ระบบ TPMAP จึงเป็นเครื่องมือเชิงนโยบายแรกของประเทศที่สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาได้ทั้งในระดับครัวเรือนและบุคคล

คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ ในคราวการประชุม ครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2560 ได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อการศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของภาครัฐ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เป็นเจ้าภาพ โดยคณะทำงานฯ ได้มอบหมายให้ สศช. จัดทำตัวอย่างระบบข้อมูลขนาดใหญ่ของภาครัฐในประเด็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านการเพิ่มรายได้ ลดภาระค่าครองชีพ และเพิ่มโอกาสด้านอาชีพ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารราชการแผ่นดิน นำมาแก้ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ผ่านมา คือ การที่ข้อมูลไม่สามารถระบุเป้าหมายคนจนได้อย่างชัดเจน ทำให้การสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจนอาจไม่ตรงเป้าหมายที่แท้จริง และนำมาซึ่งข้อถกเถียงทางนโยบายในการสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจนแบบทั่วถึงหรือแบบชี้เป้า ซึ่งข้อจำกัดทางข้อมูลในการชี้เป้าทำให้โครงการในการลดปัญหาความยากจนของประเทศไทยจึงมุ่งไปในการให้ทุกคนเท่ากันหมดไม่ได้กำหนดระดับรายได้ หรือหากกำหนดรายได้ขั้นต่ำก็มักจะเป็นที่ถกเถียงเรื่องของข้อผิดพลาดการยกเว้น (exclusion error) หรือข้อผิดพลาดของการรวม (inclusion error)

TPMAP ประกอบด้วย ข้อมูล 3 ส่วน

  1. ข้อมูลจากการบูรณาการฐานข้อมูลจากส่วนราชการ
  2. ข้อมูลระดับพื้นที่
  3. ข้อมูลทางกายภาพ (ศักยภาพในพื้นที่)

ดัชนีความยากจนหลายมิติ หรือ Multidimensional Poverty Index (MPI)  จัดทำโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแก้ไขความยากจน แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด (Oxford Poverty and Human Development Initiative – OPHI) เป็นดัชนีที่ชี้วัดมิติอื่น ๆ นอกจากรายได้ อาทิ มิติการศึกษา สุขภาพ และคุณภาพชีวิต

TPMAP มีเป้าหมายของการทำงานในการแก้ปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงและยืนยันข้อมูลจากข้อมูลความจำเป็น
พื้นฐาน

โดยระบบ TPMAP ได้นำหลักการของความยากจนหลายมิติ (MPI) มาใช้ในกระบวนการระบุปัญหาของความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย โดยได้มีการจำแนกประเด็นการพัฒนาครอบคลุม 5 มิติ คือ ด้านการศึกษา/การเรียนรู้ ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ และด้านรายได้ ซึ่งชุดข้อมูลที่สมาสกันเหล่านี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะข้อมูลจากภาครัฐเท่านั้น แต่ยังต้องครอบคลุมข้อมูลที่สามารถนำมาสู่การวิเคราะห์ให้ครอบคลุมประเด็นการพัฒนาต่าง ๆ

คำถามที่พบบ่อย

การปฏิรูปประเทศเป็นการดำเนินการตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในหมวด 16 ของรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งมาตรา 258 กำหนดให้มีการดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล โดยมี (ก) ด้านการเมือง (ข) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ค) ด้านกฎหมาย (ง) ด้านกระบวนการ ยุติธรรม (จ) ด้านการศึกษา และ (ฉ) ด้านอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข และด้านสังคม

แผนการปฏิรูประเทศประกาศใช้ครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2561 โดยประกอบด้วยการปฏิรูปประเทศ 12 ด้าน ได้แก่

(1) ด้านการเมือง

(2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

(3) ด้านกฎหมาย

(4) ด้านกระบวนการยุติธรรม

(5) ด้านเศรษฐกิจ

(6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(7) ด้านสาธารณสุข

(8) ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ

(9) ด้านสังคม

(10) ด้านพลังงาน

(11) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

(12) ด้านการศึกษา

และได้มีการประกาศใช้แผนปฏิรูปประเทศ ฉบับปรังปรุง เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 โดยเพิ่มเติมการปฏิรูปประเทศด้านที่

(13) ได้แก่ ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

แผนการปฏิรูปประเทศได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามมาตรา 257 และ 258 ของรัฐธรรมนูญฯ แล้ว โดยสามารถดูรายละเอียดผลสัมฤทธิ์ของการปฏิรูปประเทศ ได้ที่ http://nscr.nesdc.go.th/cr-ach/ หรือสแกน QR Code

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 2/2565 ที่ได้เห็นชอบแนวทางการดำเนินการภายหลังการสิ้นสุดการปฏิรูปประเทศโดยให้ทุก หน่วยงานดำเนินการทบทวนยกเลิกกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ กลไก และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ ทำให้มีการทบทวน ปรับปรุงแก้ไขและสิ้นสุดการดำเนินการต่างๆ ดังนี้

  • ทบทวนพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560
  • ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีหรือข้อสั่งการที่เกี่ยวข้องกันแผนการปฏิรูปประเทศ
  • ทบทวนความจำเป็นและความเหมาะสมของสำนักงาน ป.ย.ป. ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16 ของคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 19/2561
  • สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศซึ่งครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2565 โดยให้คงเหลือเฉพาะหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศประจำปี 2565 ในที่ประชุมร่วมประธานกรรมการปฏิรูปประเทศทุกคณะ
  • การรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ รอบเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2565 (ครั้งที่ 18) เป็นรอบรายงานสุดท้าย โดยสามารถเรียกดูรายงานได้ที่ http://nscr.nesdc.go.th/270-report/ หรือ สแกน QR Code

  • การรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศประจำปี 2565 เป็นรายงานฉบับสุดท้าย โดยสามารถเรียกดูรายงานได้ที่ http://nscr.nesdc.go.th/nscr_report/ หรือสแกน QR Code

แม้ว่าแผนการปฏิรูปประเทศสิ้นสุดลงแล้วแต่การดำเนินการปฏิรูปประเทศตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ ยังคงจำเป็นต้องมีการดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิรูปประเทศมีความยั่งยืนโดยให้หน่วยงานของรัฐทั้งหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการนำประเด็นปฏิรูปประเทศมาดำเนินการต่อเนื่องต่อไป ผ่านกลไกของแผนระดับที่ 2 แผนระดับที่ 3 และการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงานเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ยั่งยืนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ

สามารถติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการปฏิรูปประเทศได้ผ่านการดำเนินการตามแผนระดับที่ 2 และแผนระดับที่ 3 ในประเด็นที่มีความเกี่ยวเนื่องกันโดยใช้ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เป็นเครื่องมือหลัก เพื่อให้หน่วยงานรัฐยังคงมีการดำเนินการปฏิรูปประเทศต่อเนื่องให้ผลสัมฤทธิ์เกิดความยั่งยืนต่อไป

คือ action plan ของหน่วยงานของรัฐทุกแผน ยกเว้น ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ 

เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในประเด็นการพัฒนาประเทศ และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถถ่ายทอดเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ผ่านแผนระดับต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม

(ตามมติ ครม. วันที่ 4 ธ.ค. 2560)
แผนต่าง ๆ นอกเหนือจากยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับที่ 1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (แผนระดับที่ 2) จัดเป็นแผนระดับที่ 3 ทั้งหมด ประกอบด้วย
(1) แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี
(2) แผนปฏิบัติราชการรายปี
(3) แผนปฏิบัติการด้าน…
(4) แผนระดับที่ 3 ระดับพื้นที่

แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี เป็นกรอบการดำเนินงานในระยะ 5 ปี ให้บรรลุภารกิจหลักของหน่วยงานของรัฐ และขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายของแผนระดับที่ 2 โดยระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ตลอดจนโครงการ/การดำเนินการ งบประมาณและทรัพยากรอื่นที่คาดว่าจะใช้ในช่วงระยะเวลา 5 ปี

ขณะที่ แผนปฏิบัติราชการรายปี เป็นแผนที่จัดทำขึ้นในแต่ละปีงบประมาณ ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี โดยระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ประมาณการรายได้ รายจ่าย และทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้

แผนปฏิบัติการด้าน… เป็นแผนเชิง Issue Base จัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน ที่มีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานมากกว่า 1 กระทรวงขึ้นไป ขณะที่ แผนปฏิบัติราชการ เป็นแผนหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติโดยเป็นแผนการดำเนินงานของหน่วยงานเองในระยะ 5 ปี และ
รายปี

หน่วยงานสามารถเข้าใช้งานระบบผ่านทางเว็บไซต์ emenscr.nesdc.go.th โดยการ log in ด้วย username และ password สำหรับเข้าระบบอีเมนซ์ของหน่วยงาน

• หน่วยงานภาครัฐ
• วุฒิสภา และคณะกรรมาธิการ
• หัวหน้าฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ และองค์กรอัยการ

• หน่วยงานภาครัฐ
• วุฒิสภา และคณะกรรมาธิการ
• หัวหน้าฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ และองค์กรอัยการ
• ประชาชน

• ทุกส่วนราชการสามารถใช้ระบบในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล นโยบาย แผนงาน โครงการภาครัฐ (One Report) บน platform เดียวกัน
• สนับสนุนระบบ paperless มุ่งสู่ Digital Government
• มีช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตามและตรวจสอบการดำเนินงาน/โครงการของหน่วยงานภาครัฐ
• เป็นระบบฐานข้อมูลกลางที่เชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนราชการต่าง ๆ ได้อย่าง
บูรณาการ สามารถช่วยลดภาระการให้ข้อมูลเพื่อประกอบการชี้แจงต่าง ๆ ของหน่วยงานได้

หน่วยงานจะสามารถนำเข้าข้อมูลโครงการใหม่ ได้ในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ หากเป็นโครงการระหว่างปีจะต้องนำเข้าในช่วงเดือน ม.ค. / เม.ย. / ก.ค. เท่านั้น

ไตรมาสที่ 1 (1 ต.ค. – 30 ธ.ค.) รายงานภายในวันที่ 1 – 30 ม.ค.
ไตรมาสที่ 2 (1 ม.ค. – 30 มี.ค.) รายงานภายในวันที่ 1 – 30 เม.ย.
ไตรมาสที่ 3 (1 เม.ย. – 30 มิ.ย.) รายงานภายในวันที่ 1 – 30 ก.ค.
ไตรมาสที่ 4 (1 ก.ค. – 30 ก.ย.) รานงานภายในวันที่ 1 – 30 ต.ค.
(รายงานภายในระยะเวลา 30 วัน หลังสิ้นสุดไตรมาส)

ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนตลอดทุกช่วงวัย และการแก้ไขปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำแบบชี้เป้า ระบบ TPMAP จึงสามารถใช้ระบุปัญหาความยากจนและความต้องการการพัฒนาของแต่ละช่วงวัยได้ในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น/ท้องที่ จังหวัด ประเทศ หรือปัญหาความยากจนรายประเด็น ซึ่งทำให้การแก้ปัญหาตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นและสามารถออกแบบนโยบายหรือโครงการในการแก้ปัญหาให้ตรงกับความต้องการหรือสภาพปัญหาได้ ดังนั้น ระบบ TPMAP จึงเป็นเครื่องมือเชิงนโยบายแรกของประเทศที่สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาได้ทั้งในระดับครัวเรือนและบุคคล

คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ ในคราวการประชุม ครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2560 ได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อการศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของภาครัฐ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เป็นเจ้าภาพ โดยคณะทำงานฯ ได้มอบหมายให้ สศช. จัดทำตัวอย่างระบบข้อมูลขนาดใหญ่ของภาครัฐในประเด็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านการเพิ่มรายได้ ลดภาระค่าครองชีพ และเพิ่มโอกาสด้านอาชีพ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารราชการแผ่นดิน นำมาแก้ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนที่ผ่านมา คือ การที่ข้อมูลไม่สามารถระบุเป้าหมายคนจนได้อย่างชัดเจน ทำให้การสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจนอาจไม่ตรงเป้าหมายที่แท้จริง และนำมาซึ่งข้อถกเถียงทางนโยบายในการสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจนแบบทั่วถึงหรือแบบชี้เป้า ซึ่งข้อจำกัดทางข้อมูลในการชี้เป้าทำให้โครงการในการลดปัญหาความยากจนของประเทศไทยจึงมุ่งไปในการให้ทุกคนเท่ากันหมดไม่ได้กำหนดระดับรายได้ หรือหากกำหนดรายได้ขั้นต่ำก็มักจะเป็นที่ถกเถียงเรื่องของข้อผิดพลาดการยกเว้น (exclusion error) หรือข้อผิดพลาดของการรวม (inclusion error)

TPMAP ประกอบด้วย ข้อมูล 3 ส่วน

  1. ข้อมูลจากการบูรณาการฐานข้อมูลจากส่วนราชการ
  2. ข้อมูลระดับพื้นที่
  3. ข้อมูลทางกายภาพ (ศักยภาพในพื้นที่)

ดัชนีความยากจนหลายมิติ หรือ Multidimensional Poverty Index (MPI)  จัดทำโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแก้ไขความยากจน แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด (Oxford Poverty and Human Development Initiative – OPHI) เป็นดัชนีที่ชี้วัดมิติอื่น ๆ นอกจากรายได้ อาทิ มิติการศึกษา สุขภาพ และคุณภาพชีวิต

TPMAP มีเป้าหมายของการทำงานในการแก้ปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงและยืนยันข้อมูลจากข้อมูลความจำเป็น
พื้นฐาน

โดยระบบ TPMAP ได้นำหลักการของความยากจนหลายมิติ (MPI) มาใช้ในกระบวนการระบุปัญหาของความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย โดยได้มีการจำแนกประเด็นการพัฒนาครอบคลุม 5 มิติ คือ ด้านการศึกษา/การเรียนรู้ ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการเข้าถึงบริการรัฐ และด้านรายได้ ซึ่งชุดข้อมูลที่สมาสกันเหล่านี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะข้อมูลจากภาครัฐเท่านั้น แต่ยังต้องครอบคลุมข้อมูลที่สามารถนำมาสู่การวิเคราะห์ให้ครอบคลุมประเด็นการพัฒนาต่าง ๆ