นครสวรรค์
มิติด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย (เมนูแก้จน) ในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี สำหรับเด็กที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย คือ สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ย ไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี โดยจะได้รับเงินอุดหนุน เดือนละ 600 บาท/คน (กรมกิจการเด็กและเยาวชน)
เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน สำหรับเด็กในครอบครัวยากจน ซึ่งเป็นเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี หรืออยู่ระหว่างการศึกษา ต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี จะได้รับการช่วยเหลือ เดือนละ 1,000 บาท/คน กรณีเด็กมากกว่า 1 คน สามารถช่วยเหลือได้ไม่เกิน 3,000 บาท/ครอบครัว (กรมกิจการเด็กและเยาวชน)
เงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวอุปถัมภ์
• เงินช่วยเหลือสำหรับเด็กอายุ 0-18 ปี เดือนละ 2,000 บาท/เด็ก 1 คน และ การช่วยเหลือเป็นสิ่งของตามความจำเป็นเดือนละไม่เกิน 500 บาท/เด็ก 1 คน
• กรณีอุปการะเด็กมากกว่า 1 คน จะได้รับเงินช่วยค่าเลี้ยงดูเด็ก วงเงินไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท และการช่วยเหลือเป็นสิ่งของตามความจำเป็นเดือนละไม่เกิน 1,000 บาท (กรมกิจการเด็กและเยาวชน)
กองทุนคุ้มครองเด็ก เป็นทุนใช้จ่ายในการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งครอบครัวและครอบครัวอุปถัมภ์ของเด็ก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ (มาตรา 32) อาทิ เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า และเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ (มาตรา 40) อาทิ เด็กที่ถูกทารุณกรรม (กรมกิจการเด็กและเยาวชน)
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ให้แก่ผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และไม่ได้รับสวัสดิการหรือ สิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • ช่วงอายุ 60-69 ปี 600 บาท/เดือน • ช่วงอายุ 70-79 ปี 700 บาท/เดือน • ช่วงอายุ 80-89 ปี 800 บาท/เดือน • ช่วงอายุ 90 ปีขึ้นไป 1,000 บาท/เดือน (กรมกิจการผู้สูงอายุ)
เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก แก่ผู้สูงอายุที่ประสบความเดือดร้อน ถูกทอดทิ้ง ตามความจำเป็น และเหมาะสมไม่เกินครั้งละ 3,000 บาท ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง (กรมกิจการผู้สูงอายุ)
เบี้ยความพิการ
• คนพิการอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับเบี้ย 1,000 บาท/เดือน
• คนพิการอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเบี้ย 1,000 บาท/เดือน
• คนพิการอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเบี้ย 800 บาท/เดือน
(กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ)
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้เงินอุดหนุนค่าครองชีพ อาทิ เงินเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 200-300 บาท/คน/เดือน เงินค่าเดินทางรวม 1,500 บาท/คน/เดือน พร้อมทั้งให้ส่วนลดค่าครองชีพสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้แก่ ส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาท/คน/3 เดือน ค่าไฟฟ้าไม่เกิน 230 บาท/ครัวเรือน/เดือน ค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาท/ครัวเรือน/เดือน และ ให้เงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 5 (ไม่เกิน 500 บาท/เดือน) (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)
เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ แก่ผู้ป่วยเอดส์ที่มีรายได้ไม่เพียงพอ หรือถูกทอดทิ้ง 500 บาท/เดือน (กรมกิจการผู้สูงอายุ)
เงินช่วยเหลือชาวนา (โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว) ไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาท/ครัวเรือน (กรมส่งเสริมการเกษตร)
เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือชาวเขาด้านสังคมสงเคราะห์ ให้ความช่วยเหลือเป็นเงิน หรือสิ่งของ ในวงเงินไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท และ ไม่เกิน 3 ครั้ง/ครอบครัว/ปีงบประมาณ (กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ)
การเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแก่ผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อให้ผู้สูงอายุในกลุ่มยากจนได้รับ ความช่วยเหลือเพียงพอมากขึ้น
การแจกจ่ายสินค้า/คูปองแลกสินค้าบริโภคพื้นฐาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสินค้าที่จำเป็นในกลุ่มคนยากจน อาทิ อาหาร และยารักษาโรค มีตัวอย่างโครงการที่สำคัญ คือโครงการแสตมป์อาหาร (Food Stamp Program) ของสหรัฐอเมริกา โดยมูลค่าแสตมป์ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ขนาดครัวเรือน รายได้ และรายจ่าย เป็นต้น
การอุดหนุนราคาสินค้าทีครัวเรือนยากจนมักบริโภค สินค้าที่มีความต้องการในการบริโภคลดลงเมื่อรายได้สูงขึ้น อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โดยการอุดหนุนสินค้าเหล่านี้ถือเป็นกลยุทธ์ในการระบุกลุ่มเป้าหมายแบบ เลือกด้วยตนเอง เนื่องจากสินค้าที่อุดหนุนเป็นสินค้าที่มีบริโภคอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ โดยมีประเทศที่ใช้นโยบายนี้สำเร็จ อาทิ ประเทศตูนีเซีย ซึ่งมีการอุดหนุนสินค้าด้อย เช่น ขนมปังและธัญพืชบางประเภท
การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกรในการจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรได้มีความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน รวมทั้งสามารถวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นก่อให้เกิดการประหยัดและออมเงินและเข้าใจหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (กรมส่งเสริมสหกรณ์)
การเพิ่มแรงกระตุ้นให้ครัวเรือนยากจนจัดทำบัญชีครัวเรือน อาทิ กำหนดให้บัญชีครัวเรือนเป็นหลักฐานที่ต้องแสดงเมื่อต้องการกู้ยืมเงินจากกองทุนของชุมชน/หมู่บ้าน หรือขอรับสวัสดิการจากรัฐ
การจูงใจให้แรงงานนอกระบบเข้าร่วมระบบการออมภาคสมัครใจ อาทิ กอช.
การพัฒนาระบบบริการข้อมูลทางการเงินเพื่อการเกษียณ เพื่อช่วยให้ผู้ออมสามารถวางแผนการออมของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และบรรเทาเหตุจำเป็นเร่งด่วนของชุมชน โดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ (สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ)
กองทุนผู้สูงอายุ โดยสนับสนุนในรูปแบบเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย 3 ปี โดยการกู้ยืมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบรายบุคคลได้คนละไม่เกิน 30,000 บาท และแบบรายกลุ่ม กลุ่มละไม่น้อยกว่า 5 คน ได้กลุ่มละไม่เกิน 100,000 บาท (กรมกิจการผู้สูงอายุ)
กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน เพื่อปรับปรุงที่ดิน เป็นทุนในการประกอบอาชีพ ไถ่ถอนหรือซื้อคืนที่ดิน หรือชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (สำนักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและรับเรื่องร้องเรียน)
การรวบรวมข้อมูลและประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเงินกู้แก่ผู้มีรายได้ต่ำ เพื่อการประกอบอาชีพ อาทิ กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนดังกล่าวในหมู่คนยากจน
การให้บริการฝึกอบรมอาชีพโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ครอบคลุมทักษะอาชีพหลากหลาย เช่น งานช่าง งานซ่อมบำรุง การทำอาหาร ทักษะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
การให้บริการฝึกอบรมอาชีพ ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อให้กลุ่มคนยากจนมีทักษะอาชีพเพิ่มขึ้น แบ่งเป็นหลักสูตรฝึกอาชีพช่างอเนกประสงค์ (ช่างชุมชน) โดยมีการมอบเครื่องมือประกอบอาชีพ เพื่อนำไปต่อยอดในการรับงานในชุมชน และหลักสูตรการฝึกอาชีพเสริมเพื่อการมีงานทำ หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น การทำศิลปะประดิษฐ์ การแต่งผมสุภาพบุรุษ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การประกอบอาหารไทย เป็นต้น (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
การให้บริการฝึกอบรมอาชีพภายใต้โครงการฝึกอาชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือน มีระยะเวลาการฝึก 15 วัน หลักสูตรที่ดำเนินการ เช่น การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ การฝึกบาริสต้ามืออาชีพ การใช้สมาร์ทโฟนสร้างยอดขาย การประกอบธุรกิจกาแฟ การประกอบอาหาร และการทำขนม เป็นต้น ทั้งนี้ ระหว่างฝึกอบรมจะได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 150 บาท เพื่อให้ผู้ที่เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้เพื่อนำไปประกอบอาชีพอิสระและมีรายได้สำหรับใช้จ่ายในครอบครัวด้วย (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
การให้เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมทักษะอาชีพภายใต้โครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว (ในชุมชน 104 วัน) มีกลุ่มเป้าหมายเป็น เยาวสตรี สตรี และครอบครัวที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ว่างงาน เป็นแรงงานนอกระบบ หรือประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยต้องรวมกลุ่มกันตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป และสามารถเลือกฝึกอาชีพได้ตามความต้องการของพื้นที่ เช่น การแปรรูปสินค้าเกษตร การทอผ้า การจักสาน เป็นต้น (กรมกิจการสตรีและครอบครัว)
การแจกคูปองสำหรับอบรม ทักษะอาชีพ เพื่อให้กลุ่มคนยากจนสามารถเลือกฝึกทักษะเพื่อประกอบอาชีพในศูนย์ฝึกอาชีพ หรือสถาบันอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตามความสนใจ
การส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา ในพื้นที่เข้ามามีบทบาทในการสร้างทักษะแรงงานแก่คนในชุมชน ผ่านการจัดตั้งกลไกความร่วมมือระหว่างชุมชนกับสถาบันการศึกษา
การจัดโครงการอบรมทักษะการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้สนใจมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ และสามารถ ใช้ประโยชน์จากทุนที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การอบรมความรู้ด้านการเงินแก่ ผู้มีรายได้น้อย เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องการบริหารการเงินส่วนบุคคลและในครัวเรือน อาทิ การออม การเข้าถึงแหล่งทุน และ การลงทุน
การมอบวัสดุอุปกรณ์สนับสนุน การประกอบอาชีพครัวเรือนยากจน สำหรับครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 38,000 บาทต่อคนต่อปี โดยเป็นครัวเรือน ที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาได้ และมีศักยภาพในการประกอบอาชีพ (กรมการพัฒนาชุมชน/มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง)
การให้สิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินนิคมสหกรณ์แก่เกษตรกร ที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีแต่เพียงเล็กน้อยไม่พอต่อการครองชีพ โดยไม่เกินครอบครัวละ 50 ไร่ เพื่ออยู่อาศัยและทำประโยชน์ เมื่อเข้าทำประโยชน์ครบ 5 ปี และชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วน จะได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (กรมส่งเสริมสหกรณ์)
การจัดหาสินทรัพย์/ปัจจัยการผลิตเพื่อการประกอบอาชีพ อาทิ ปศุสัตว์ เมล็ดพันธุ์พืช รถเข็นสำหรับขายของ และปัจจัยทุนเพื่อประกอบธุรกิจอื่น ๆ แก่กลุ่มคนยากจนในลักษณะการ ให้เปล่า เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้ให้ แก่ครัวเรือน
การให้บริการแนะแนวอาชีพ โดยจะแนะแนวให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่นักเรียน นักศึกษาคนหางาน ผู้ประกันตนกรณีว่างงาน และประชาชนทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการประกอบอาชีพ โดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานแหล่งฝึกอาชีพ แหล่งเงินทุน และข้อมูล อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น การแนะแนวอาชีพก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน การแนะแนวอาชีพเพื่อการมีงานทำ และการแนะแนวอาชีพผู้ไม่อยู่ในระบบการจ้างงาน (กรมการจัดหางาน)
การให้บริการแพลตฟอร์ม การให้บริการจัดหางาน โดยผู้ใช้บริการสามารถค้นหา ดูรายละเอียด และสมัครงาน ทั้งงานภาครัฐ งานทั่วไป และงานจากบริษัทจัดหางาน ผ่านระบบ “ไทยมีงานทำ” (https://thaimengaantam.doe.go.th/) (กรมการจัดหางาน)
การจัดตั้งศูนย์จัดหางานระดับอำเภอ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ จัดหางานได้อย่างทั่วถึงและสะดวกมากขึ้น
การจ้างงานใหม่ผู้จบการศึกษาใหม่ในช่วงโควิด-19 ช่วยเหลือการจ้างงานให้ผู้จบการศึกษาใหม่ได้มีงานทำ และช่วยเหลือสถานประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลให้การอุดหนุนเงินค่าจ้างแก่ลูกจ้างเป็นระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน/ 1 คน จำนวนร้อยละ 50 ของเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท/เดือน/คน (กรมการจัดหางาน)
การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่สถานประกอบการที่มีการจ้างงานผู้สูงอายุ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเข้าทำงานเป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุ โดยต้องจ่ายค่าจ้างผู้สูงอายุไม่เกิน 15,000 บาท/คน/เดือน (กรมสรรพากร)
การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่สถานประกอบการที่มีการจ้างงานผู้มีรายได้ต่ำ โดยใช้กลไกลักษณะเดียวกับสิทธิประโยชน์สำหรับสถานประกอบการที่มีการจ้างงานผู้สูงอายุ มีการกำหนดเพดานค่าจ้าง และสัดส่วนการยกเว้นภาษีตามความเหมาะสม
โครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร อาทิ โกดังเก็บสินค้าเกษตร และโรงงานแปรรูปสินค้า เพื่อส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการเกษตรในชุมชน
การปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับค่าครองชีพในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้แรงงานที่อยู่ในระบบมีรายได้ เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน
การศึกษาและทักษะที่จำเป็น
แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย (เมนูแก้จน) ในด้านการศึกษาและทักษะที่จำเป็น
โครงการจัดสรรเงินอุดหนุน แบบมีเงื่อนไขแก่นักเรียนยากจนพิเศษ เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานและค่าครองชีพ 3,000 บาท/คน/ปี โดยเงื่อนไข คือ ผู้ที่ได้รับทุนต้องรักษาอัตราการเข้าเรียนให้สูงกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด ซึ่งใช้วิธีการคัดกรองแบบวัดรายได้ทางอ้อม โดยประเมินจาก (1) ข้อมูลรายได้เฉลี่ยสมาชิกครัวเรือน (ไม่เกิน 3,000 บาท/คน/เดือน) และ (2) ข้อมูลสถานะครัวเรือน 8 ด้าน (ภาระพึ่งพิงของครัวเรือน/ ยานพาหนะในครัวเรือน/ ที่ดินทำการเกษตร/ แหล่งไฟฟ้าหลัก/ ประเภทที่อยู่อาศัย/ สภาพที่อยู่อาศัย/ ของใช้ในครัวเรือน/ แหล่งน้ำดื่ม น้ำใช้) (กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา)
การจัดสรรเงินอุดหนุนเพิ่มเติมให้แก่นักเรียนทุนเสมอภาค (ของ กสศ.) กลุ่มช่วงชั้นรอยต่อ ในช่วงโควิด-19 (อนุบาล 3 ประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยม ศึกษาปีที่ 3) เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาในการเตรียมความพร้อมศึกษาต่อในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 อัตราคนละ 800 บาท (กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา)
การแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงโควิด-19 เป็นการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายนักเรียน นักศึกษาทั้งสายสามัญศึกษาและสายอาชีพในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ในอัตรา 2,000 บาท/คน รวมเป็นเงินประมาณ 21,600 ล้านบาท โดยใช้ฐานข้อมูลเรียน ฟรี 15 ปี (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา)
การให้เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข แก่นักเรียนยากจนเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มทักษะที่จำเป็น ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการเรียนรู้เพิ่มเติม ในส่วนที่ไม่ได้รับการอุดหนุนจากทุนอื่นๆ อาทิ การเรียนเสริมในวิชาที่จำเป็น การฝึกอบรมเพิ่มเติมในทักษะที่สำคัญและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่จะเสริมสร้างทักษะแก่เด็ก
การให้เงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข แก่ครัวเรือนยากจนที่มีเด็ก ซึ่งจำนวนเงินมีความครอบคลุมและสอดคล้องกับบริบทของครัวเรือน โดยเงื่อนไขคือครัวเรือนต้องสนับสนุนและรับประกันว่าบุตรหลานของตนจะได้ เข้าเรียนอย่างต่อเนื่องจนจบการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างโครงการ เช่น โครงการ Progresa ในประเทศเม็กซิโก
โครงการอาหารกลางวันของนักเรียน เงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวัน 21 บาท/คน/วัน กลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนทั่วประเทศ ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน)
กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา เงินสนับสนุนเพื่อจัดอาหารกลางวันให้นักเรียนในระดับประถมศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ โรงเรียนประถมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร (สำนักงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
โครงการ #สู้วิกฤตให้น้องอิ่ม จัดสรรงบประมาณสำหรับมื้ออาหาร เพื่อเยียวยากลุ่มนักเรียนยากจนพิเศษ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยจะช่วยเหลือเด็กคนละ 600 บาท สำหรับอาหาร 1 มื้อ (กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา)
การสนับสนุนค่าอาหารกลางวันนักเรียนในช่วงโควิด-19 เพื่อให้ผู้ปกครองนำไปจัดหาอาหารกลางวันให้นักเรียนรับประทานที่บ้าน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน)
อินเทอร์เน็ตฟรีสำหรับการเรียนในช่วงโควิด-19 สนับสนุนอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์สำหรับการเรียนออนไลน์ สำหรับนักเรียนในระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษา สังกัด สพฐ. นักเรียนอาชีวศึกษา และ กศน. ที่มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในช่วงระหว่างวันที่ 15 ส.ค. 2564 – 15 ต.ค. 2564 ใน 2 รูปแบบ คือ (1) ช่วย Top-up แพคเกจอินเทอร์เน็ตมือถือให้เบอร์ที่นักเรียนใช้เรียนออนไลน์ ทั้งระบบเติมเงินและรายเดือน สามารถใช้งาน แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนการสอนได้ แบบไม่จำกัด พร้อมอินเทอร์เน็ตอีก 2GB สำหรับการใช้งานอื่นๆ (2) ช่วยจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตบ้าน โดย หักจากบิลค่าบริการเดือนละ 79 บาท (ยังไม่รวม VAT) เป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกรับสิทธิได้อย่างใดอย่างหนึ่ง และรับได้ 1 คน/ 1 สิทธิ) (กสทช.)
การจัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่จำเป็นสำหรับการเรียนออนไลน์ อาทิ คอมพิวเตอร์ แทปเลต สมาร์ทโฟน ให้เด็กยากจนหรือเด็กที่ขาดแคลนให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน ทั้งในรูปแบบของการให้ยืมและการให้เปล่า ตามปัญหาและความจำเป็น
การให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีรายได้น้อย นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนครูอาจารย์ และอาสาสมัครในพื้นที่
ทุนการศึกษาแก่เด็กที่หลุดออกจากระบบระบบการศึกษาเนื่องจากความยากจน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา (หากหลุดออกจากระบบก่อนสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ หรือสมัครใจเรียนต่อ) โดยทุนการศึกษาครอบคลุมค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ในการมาเรียน และต้นทุนค่าเสียโอกาส จากการต้องเลิกทำงาน
การให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนที่จำเป็นต้องออกจากระบบการศึกษากลางคัน เนื่องจากข้อจำกัดด้านศักยภาพในการเรียน โดยการอบรมทักษะพื้นฐาน (อ่าน/เขียน/คำนวณ ในกรณีที่ยังไม่ได้ทักษะเหล่านี้) และให้ทุนสนับสนุนการเรียนต่อด้านอาชีวศึกษา/กศน. หรือแนะแนวทาง การประกอบอาชีพแทน ทั้งนี้ อาจขยายผลไปถึงการมีระบบติดตามว่านักเรียนกลุ่มนี้สามารถประกอบอาชีพได้จริงและไม่ และประสบปัญหาอุปสรรคอะไรเพิ่มเติม
การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อการศึกษาในระดับพื้นที่ สำหรับนักเรียนยากจนในพื้นที่โดยเฉพาะ เน้นมุ่งเป้าไปยังพื้นที่ทุรกันดารและมีครัวเรือนยากจนจำนวนมากก่อนเป็นอันดับแรก โดยรัฐจะเป็นผู้ให้ทุนก้อนแรก นักเรียนที่จะยืมได้ต้องเป็นคนที่อาศัย ในพื้นที่ (ไม่อิงตามทะเบียนบ้าน) จำนวนเงินที่ยืมให้เพียงพอกับค่าเทอม และค่าใช้จ่ายจากนั้นจึงทยอยใช้คืนเมื่อ ผู้ยืมเข้าสู่ตลาดแรงงานและมีรายได้มั่นคงอย่างน้อย 6 เดือน
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน สร้างโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติม (ศูนย์ดิจิทัลชุมชน)
การจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครใน พื้นที่เพื่อสอนทักษะขั้นด้านการคิด (อ่าน/เขียน/คำนวณ) ให้กลุ่มเด็กในครัวเรือนยากจนที่ไม่สามารถเข้าโรงเรียนได้ตามกำหนด และอาจมีการทำ take-home package ที่บรรจุสื่อการเรียนการสอนหรือแบบฝึกหัดให้เด็กนำกลับไปทำที่บ้านได้ด้วย ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น กลุ่ม Pratham ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGOs) ในอินเดียที่อบรมอาสาสมัครไปสอนเด็กยากจนในชุมชนโดยเฉพาะ
การจัดตั้งกลุ่มดูแลและ แนะแนวทางนักเรียนยากจน ที่ได้รับทุนการศึกษา/เงินอุดหนุน โดยดูแลทั้งในด้านการสร้างทักษะและสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตให้กับเด็กจากครอบครัวยากจนในการมีชีวิตที่ดีขึ้น อาทิ การนำรุ่นพี่ที่เคยมีประสบการณ์ใกล้เคียงกัน (เช่น อาจเคยมีฐานะยากจน แต่ปัจจุบันมีชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว) มาเป็น Role Model หรืออาจขยายผลถึงการเป็น Mentor คอยช่วยแนะแนวทางต่อไป
การพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยเฉพาะในพื้นที่แถบทุรกันดารและเน้นไปที่การดึงกลุ่มเด็กยากจน/เปราะบางเข้ามาที่ศูนย์มากขึ้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทั้งในด้านหลักสูตรและผู้สอน มีระบบฝึกอบรมและระบบให้คำปรึกษาแนะนำ Coaching) /ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) ที่มีคุณภาพให้ครูและผู้ดูแลเด็กอย่างต่อเนื่องให้กับทุกสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมถึงพัฒนาระบบ ที่ช่วยในการติดตามการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ของเด็ก
การจัดสรรงบประมาณทางการศึกษาแบบไม่ผูกติดกับรายหัวเพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ในพื้นที่ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นซึ่งอาจใช้ปัจจัยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ขนาดของโรงเรียน เป็นเกณฑ์หลักเพื่อใช้จัดสรรงบประมาณ
การจัดโครงการฝึกอบรมด้านทักษะชีวิตแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย อาทิ ทักษะด้านการเงิน (financial literacy) ทักษะด้านดิจิทัล (digital literacy) หรือทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยอาจเป็นทั้งแบบ on site มีอาสาสมัครไปอบรม ในพื้นที่ชุมชน อบรมในสถานศึกษา และ online ผ่านการถ่ายทอดทางดาวเทียมหรืออินเทอร์เน็ตเพื่อจะสามารถเข้าถึง เด็กในพื้นที่ห่างไกลได้
โครงการ สพฐ. ห่วงใย เพื่อค้นหาและติดตามนักเรียนที่ตกหล่นและต้องออกจากระบบกลางคันให้กลับ เข้าสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง โดยใช้ข้อมูลของเด็กจากชื่อและที่อยู่ รวมทั้งสร้างระบบเครือข่ายการส่งต่อข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาของเด็กตกหล่นและออกกลางคันที่กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการต่ออย่าง มีประสิทธิภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน)
โครงการ กศน.ปักหมุด เป็นโครงการเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาสอายุ 18 ปี ขึ้นไป ให้ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา โดย ครู กศน.ตำบล ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสทาง การศึกษา นำข้อมูลเข้าสู่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในสถานศึกษาสังกัด กศน. อย่างเหมาะสม เพื่อจะสามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น รวมทั้งสามารถประกอบอาชีพ มีงานทำ พึ่งพาตนเองได้ (กศน.)
ทุนนวัตกรรมสายอาชีพขั้นสูง ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน 2,500 คน เพื่อเข้าเรียนในสายอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน • ทุน 5 ปี สำหรับนักเรียนชั้น ม.3 ให้เรียน ปวช. ต่อเนื่องจนถึงระดับปวส. / อนุปริญญาสายอาชีพ • ทุน 2 ปี สำหรับนักเรียนชั้น ม.6 หรือ ปวช. 3 ให้เรียน ปสว. / อนุปริญญาสายอาชีพ (กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา)
โครงการครูรักษ์ถิ่น สนับสนุนทุนการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนยากจน/ด้อยโอกาสจากครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ 20 แรกของประเทศในพื้นที่ห่างไกลให้มีโอกาสเรียนปริญญาตรีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และได้รับการบรรจุเป็นครูในโรงเรียน ขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล โดยสนับสนุนทุน ให้แก่นักศึกษา ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าที่พัก ค่าครองชีพรายวัน ค่าตำราและอุปกรณ์การเรียนที่จำเป็น (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
การทดลองแนวทางการตัดวงจรความยากจนด้วยการศึกษา ผ่านการจัดตั้งพื้นที่ทดลองนวัตกรรมด้านการศึกษา (education sandbox) โดยอาจคัดเลือกจากพื้นที่ทุรกันดารหรือพื้นที่ที่มีครัวเรือนยากจนจำนวนมากเป็นหลักก่อน ซึ่งอาจใช้พื้นที่ที่ได้รับเลือกเป็นทั้ง (1) พื้นที่นำร่องเพื่อทดสอบมาตรการต่าง ๆ ที่มีไว้สำหรับช่วยเหลือนักเรียนยากจนโดยเฉพาะ (2) เป็นพื้นที่ให้คณะทำงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถลงพื้นที่ ทำวิจัย เก็บข้อมูล และนำไปขยายผลเป็นมาตรการแก้ปัญหาความยากจนด้านการศึกษาต่อไป (ต่อยอดจาก พรบ. พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา 2562 โดยมุ่งเน้นมิติของการศึกษากับความยากจน)
มิติด้านสุขภาพ
แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย (เมนูแก้จน) ในด้านสุขภาพ
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คนไทยทุกคนมีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งครอบคลุมชุดสิทธิประโยชน์ทั้งบริการผู้ป่วยนอกใน ทันตกรรม ค่ายา/เวชภัณฑ์ ค่าอาหารและห้องสามัญ ค่าคลอดบุตรชดเชย แต่ต้องไปรับบริการ ที่สถานพยาบาลรัฐหรือเอกชนคู่สัญญาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ตนขึ้นทะเบียนด้วยเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังมีบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทาง การแพทย์ในสถานพยาบาลและในชุมชน บริการดูแลระยะท้ายในชุมชนด้วย (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพของแรงงานในระบบประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ครอบคลุมการตรวจสุขภาพ บริการผู้ป่วยนอกใน ทันตกรรม ค่า /ยาเวชภัณฑ์ ค่าอาหารและห้องสามัญ ชดเชยกรณีคลอดบุตร ตาย พิการ บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในสถานพยาบาล บริการดูแลระยะท้ายในสถานพยาบาล โดยสามารถรับบริการที่โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่ผู้ประกันตนเลือกขึ้นทะเบียนด้วย หรือสถานพยาบาลเครือข่ายที่กำหนด (สำนักงานประกันสังคม)
สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้สามารถ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่ง ที่ใกล้ที่สุดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
การให้เงินช่วยเหลือครัวเรือนที่มีผู้ป่วยเรื้อรัง ร้ายแรง และผู้สูงอายุเพิ่มเติม ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ และ ค่าเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ต้องจ่ายเองเพิ่มเติมจากหลักประกันสุขภาพที่มีอยู่
การสนับสนุนสิ่งของจำเป็นให้แก่ผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุที่ต้องการได้รับการดูแลระยะยาว สนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้แก่ผู้สูงอายุให้แก่ผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลระยะยาว เช่น รถเข็น ไม้เท้า เบาะนอน/ ที่นอนลม-น้ำ ผ้ายาง โต๊ะคร่อมเตียง ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ กระดาษชำระ สำลี และแผ่นรองซับ
การช่วยเหลือค่าเดินทางเพื่อไปรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยยากไร้ ไร้ที่พึ่ง ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ (ตามเกณฑ์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) สามารถขอรับความช่วยเหลือ เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ ไม่เกินครั้งละ 2,000 บาท (เทศบาล อบต. อบจ.)
บริการเคลื่อนย้าย รับส่งผู้ป่วยโควิดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับผลยืนยันว่าตรวจพบเชื้อและต้องการเดินทางไปยังสถานพยาบาล หรือผู้ป่วยโควิดที่เข้ารับการรักษาครบแล้วและต้องการกลับบ้านสามารถใช้บริการรถรรับส่งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (หน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายจิตอาสา)
บริการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยยากไร้ ที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งการเดินทางไป ที่โรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่รายได้น้อย หรือสูญเสียรายได้จากการตกงาน พิการ สูงอายุ ที่ไม่มีเงินสำหรับซื้ออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ (อบต. หน่วยงานของรัฐในพื้นที่)
การลดความเสี่ยงของโรคติดต่อ ในชุมชนแออัด โดยกำหนดสถานที่พักพิงหรือสถานที่กักตัว อาทิ วัดโรงงาน สถานที่ที่เหมาะสมในละแวกใกล้เคียง โดยมีหน่วยภาครัฐสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณและเทคโนโลยีให้กับสถานที่แห่งนั้น
การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกรในการจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรได้มีความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน รวมทั้งสามารถวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นก่อให้เกิดการประหยัดและออมเงินและเข้าใจหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (กรมส่งเสริมสหกรณ์)
การเพิ่มแรงกระตุ้นให้ครัวเรือนยากจนจัดทำบัญชีครัวเรือน อาทิ กำหนดให้บัญชีครัวเรือนเป็นหลักฐานที่ต้องแสดงเมื่อต้องการกู้ยืมเงินจากกองทุนของชุมชน/หมู่บ้าน หรือขอรับสวัสดิการจากรัฐ
การจูงใจให้แรงงานนอกระบบเข้าร่วมระบบการออมภาคสมัครใจ อาทิ กอช.
การพัฒนาระบบบริการข้อมูลทางการเงินเพื่อการเกษียณ เพื่อช่วยให้ผู้ออมสามารถวางแผนการออมของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และบรรเทาเหตุจำเป็นเร่งด่วนของชุมชน โดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ (สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ)
กองทุนผู้สูงอายุ โดยสนับสนุนในรูปแบบเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย 3 ปี โดยการกู้ยืมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบรายบุคคลได้คนละไม่เกิน 30,000 บาท และแบบรายกลุ่ม กลุ่มละไม่น้อยกว่า 5 คน ได้กลุ่มละไม่เกิน 100,000 บาท (กรมกิจการผู้สูงอายุ)
กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน เพื่อปรับปรุงที่ดิน เป็นทุนในการประกอบอาชีพ ไถ่ถอนหรือซื้อคืนที่ดิน หรือชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (สำนักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและรับเรื่องร้องเรียน)
การรวบรวมข้อมูลและประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเงินกู้แก่ผู้มีรายได้ต่ำ เพื่อการประกอบอาชีพ อาทิ กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนดังกล่าวในหมู่คนยากจน
การให้บริการฝึกอบรมอาชีพโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ครอบคลุมทักษะอาชีพหลากหลาย เช่น งานช่าง งานซ่อมบำรุง การทำอาหาร ทักษะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
การให้บริการฝึกอบรมอาชีพ ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อให้กลุ่มคนยากจนมีทักษะอาชีพเพิ่มขึ้น แบ่งเป็นหลักสูตรฝึกอาชีพช่างอเนกประสงค์ (ช่างชุมชน) โดยมีการมอบเครื่องมือประกอบอาชีพ เพื่อนำไปต่อยอดในการรับงานในชุมชน และหลักสูตรการฝึกอาชีพเสริมเพื่อการมีงานทำ หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น การทำศิลปะประดิษฐ์ การแต่งผมสุภาพบุรุษ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การประกอบอาหารไทย เป็นต้น (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
การให้บริการฝึกอบรมอาชีพภายใต้โครงการฝึกอาชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือน มีระยะเวลาการฝึก 15 วัน หลักสูตรที่ดำเนินการ เช่น การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ การฝึกบาริสต้ามืออาชีพ การใช้สมาร์ทโฟนสร้างยอดขาย การประกอบธุรกิจกาแฟ การประกอบอาหาร และการทำขนม เป็นต้น ทั้งนี้ ระหว่างฝึกอบรมจะได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 150 บาท เพื่อให้ผู้ที่เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้เพื่อนำไปประกอบอาชีพอิสระและมีรายได้สำหรับใช้จ่ายในครอบครัวด้วย (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
การให้เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมทักษะอาชีพภายใต้โครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว (ในชุมชน 104 วัน) มีกลุ่มเป้าหมายเป็น เยาวสตรี สตรี และครอบครัวที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ว่างงาน เป็นแรงงานนอกระบบ หรือประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยต้องรวมกลุ่มกันตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป และสามารถเลือกฝึกอาชีพได้ตามความต้องการของพื้นที่ เช่น การแปรรูปสินค้าเกษตร การทอผ้า การจักสาน เป็นต้น (กรมกิจการสตรีและครอบครัว)
การแจกคูปองสำหรับอบรม ทักษะอาชีพ เพื่อให้กลุ่มคนยากจนสามารถเลือกฝึกทักษะเพื่อประกอบอาชีพในศูนย์ฝึกอาชีพ หรือสถาบันอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตามความสนใจ
การส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา ในพื้นที่เข้ามามีบทบาทในการสร้างทักษะแรงงานแก่คนในชุมชน ผ่านการจัดตั้งกลไกความร่วมมือระหว่างชุมชนกับสถาบันการศึกษา
การจัดโครงการอบรมทักษะการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้สนใจมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ และสามารถ ใช้ประโยชน์จากทุนที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การอบรมความรู้ด้านการเงินแก่ ผู้มีรายได้น้อย เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องการบริหารการเงินส่วนบุคคลและในครัวเรือน อาทิ การออม การเข้าถึงแหล่งทุน และ การลงทุน
การมอบวัสดุอุปกรณ์สนับสนุน การประกอบอาชีพครัวเรือนยากจน สำหรับครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 38,000 บาทต่อคนต่อปี โดยเป็นครัวเรือน ที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาได้ และมีศักยภาพในการประกอบอาชีพ (กรมการพัฒนาชุมชน/มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง)
การให้สิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินนิคมสหกรณ์แก่เกษตรกร ที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีแต่เพียงเล็กน้อยไม่พอต่อการครองชีพ โดยไม่เกินครอบครัวละ 50 ไร่ เพื่ออยู่อาศัยและทำประโยชน์ เมื่อเข้าทำประโยชน์ครบ 5 ปี และชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วน จะได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (กรมส่งเสริมสหกรณ์)
การจัดหาสินทรัพย์/ปัจจัยการผลิตเพื่อการประกอบอาชีพ อาทิ ปศุสัตว์ เมล็ดพันธุ์พืช รถเข็นสำหรับขายของ และปัจจัยทุนเพื่อประกอบธุรกิจอื่น ๆ แก่กลุ่มคนยากจนในลักษณะการ ให้เปล่า เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้ให้ แก่ครัวเรือน
การให้บริการแนะแนวอาชีพ โดยจะแนะแนวให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่นักเรียน นักศึกษาคนหางาน ผู้ประกันตนกรณีว่างงาน และประชาชนทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการประกอบอาชีพ โดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานแหล่งฝึกอาชีพ แหล่งเงินทุน และข้อมูล อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น การแนะแนวอาชีพก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน การแนะแนวอาชีพเพื่อการมีงานทำ และการแนะแนวอาชีพผู้ไม่อยู่ในระบบการจ้างงาน (กรมการจัดหางาน)
การให้บริการแพลตฟอร์ม การให้บริการจัดหางาน โดยผู้ใช้บริการสามารถค้นหา ดูรายละเอียด และสมัครงาน ทั้งงานภาครัฐ งานทั่วไป และงานจากบริษัทจัดหางาน ผ่านระบบ “ไทยมีงานทำ” (https://thaimengaantam.doe.go.th/) (กรมการจัดหางาน)
การจัดตั้งศูนย์จัดหางานระดับอำเภอ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ จัดหางานได้อย่างทั่วถึงและสะดวกมากขึ้น
การจ้างงานใหม่ผู้จบการศึกษาใหม่ในช่วงโควิด-19 ช่วยเหลือการจ้างงานให้ผู้จบการศึกษาใหม่ได้มีงานทำ และช่วยเหลือสถานประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลให้การอุดหนุนเงินค่าจ้างแก่ลูกจ้างเป็นระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน/ 1 คน จำนวนร้อยละ 50 ของเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท/เดือน/คน (กรมการจัดหางาน)
การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่สถานประกอบการที่มีการจ้างงานผู้สูงอายุ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเข้าทำงานเป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุ โดยต้องจ่ายค่าจ้างผู้สูงอายุไม่เกิน 15,000 บาท/คน/เดือน (กรมสรรพากร)
การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่สถานประกอบการที่มีการจ้างงานผู้มีรายได้ต่ำ โดยใช้กลไกลักษณะเดียวกับสิทธิประโยชน์สำหรับสถานประกอบการที่มีการจ้างงานผู้สูงอายุ มีการกำหนดเพดานค่าจ้าง และสัดส่วนการยกเว้นภาษีตามความเหมาะสม
โครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร อาทิ โกดังเก็บสินค้าเกษตร และโรงงานแปรรูปสินค้า เพื่อส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการเกษตรในชุมชน
การปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับค่าครองชีพในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้แรงงานที่อยู่ในระบบมีรายได้ เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน
มิติด้านคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่
แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย (เมนูแก้จน) ในด้านคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่
เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี สำหรับเด็กที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย คือ สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ย ไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี โดยจะได้รับเงินอุดหนุน เดือนละ 600 บาท/คน (กรมกิจการเด็กและเยาวชน)
เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน สำหรับเด็กในครอบครัวยากจน ซึ่งเป็นเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี หรืออยู่ระหว่างการศึกษา ต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี จะได้รับการช่วยเหลือ เดือนละ 1,000 บาท/คน กรณีเด็กมากกว่า 1 คน สามารถช่วยเหลือได้ไม่เกิน 3,000 บาท/ครอบครัว (กรมกิจการเด็กและเยาวชน)
เงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวอุปถัมภ์
• เงินช่วยเหลือสำหรับเด็กอายุ 0-18 ปี เดือนละ 2,000 บาท/เด็ก 1 คน และ การช่วยเหลือเป็นสิ่งของตามความจำเป็นเดือนละไม่เกิน 500 บาท/เด็ก 1 คน
• กรณีอุปการะเด็กมากกว่า 1 คน จะได้รับเงินช่วยค่าเลี้ยงดูเด็ก วงเงินไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท และการช่วยเหลือเป็นสิ่งของตามความจำเป็นเดือนละไม่เกิน 1,000 บาท (กรมกิจการเด็กและเยาวชน)
กองทุนคุ้มครองเด็ก เป็นทุนใช้จ่ายในการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งครอบครัวและครอบครัวอุปถัมภ์ของเด็ก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ (มาตรา 32) อาทิ เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า และเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ (มาตรา 40) อาทิ เด็กที่ถูกทารุณกรรม (กรมกิจการเด็กและเยาวชน)
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ให้แก่ผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และไม่ได้รับสวัสดิการหรือ สิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • ช่วงอายุ 60-69 ปี 600 บาท/เดือน • ช่วงอายุ 70-79 ปี 700 บาท/เดือน • ช่วงอายุ 80-89 ปี 800 บาท/เดือน • ช่วงอายุ 90 ปีขึ้นไป 1,000 บาท/เดือน (กรมกิจการผู้สูงอายุ)
เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก แก่ผู้สูงอายุที่ประสบความเดือดร้อน ถูกทอดทิ้ง ตามความจำเป็น และเหมาะสมไม่เกินครั้งละ 3,000 บาท ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง (กรมกิจการผู้สูงอายุ)
เบี้ยความพิการ
• คนพิการอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับเบี้ย 1,000 บาท/เดือน
• คนพิการอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเบี้ย 1,000 บาท/เดือน
• คนพิการอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเบี้ย 800 บาท/เดือน
(กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ)
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้เงินอุดหนุนค่าครองชีพ อาทิ เงินเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 200-300 บาท/คน/เดือน เงินค่าเดินทางรวม 1,500 บาท/คน/เดือน พร้อมทั้งให้ส่วนลดค่าครองชีพสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้แก่ ส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาท/คน/3 เดือน ค่าไฟฟ้าไม่เกิน 230 บาท/ครัวเรือน/เดือน ค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาท/ครัวเรือน/เดือน และ ให้เงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 5 (ไม่เกิน 500 บาท/เดือน) (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)
เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ แก่ผู้ป่วยเอดส์ที่มีรายได้ไม่เพียงพอ หรือถูกทอดทิ้ง 500 บาท/เดือน (กรมกิจการผู้สูงอายุ)
เงินช่วยเหลือชาวนา (โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว) ไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาท/ครัวเรือน (กรมส่งเสริมการเกษตร)
เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือชาวเขาด้านสังคมสงเคราะห์ ให้ความช่วยเหลือเป็นเงิน หรือสิ่งของ ในวงเงินไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท และ ไม่เกิน 3 ครั้ง/ครอบครัว/ปีงบประมาณ (กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ)
การเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแก่ผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อให้ผู้สูงอายุในกลุ่มยากจนได้รับ ความช่วยเหลือเพียงพอมากขึ้น
การแจกจ่ายสินค้า/คูปองแลกสินค้าบริโภคพื้นฐาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสินค้าที่จำเป็นในกลุ่มคนยากจน อาทิ อาหาร และยารักษาโรค มีตัวอย่างโครงการที่สำคัญ คือโครงการแสตมป์อาหาร (Food Stamp Program) ของสหรัฐอเมริกา โดยมูลค่าแสตมป์ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ขนาดครัวเรือน รายได้ และรายจ่าย เป็นต้น
การอุดหนุนราคาสินค้าทีครัวเรือนยากจนมักบริโภค สินค้าที่มีความต้องการในการบริโภคลดลงเมื่อรายได้สูงขึ้น อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โดยการอุดหนุนสินค้าเหล่านี้ถือเป็นกลยุทธ์ในการระบุกลุ่มเป้าหมายแบบ เลือกด้วยตนเอง เนื่องจากสินค้าที่อุดหนุนเป็นสินค้าที่มีบริโภคอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ โดยมีประเทศที่ใช้นโยบายนี้สำเร็จ อาทิ ประเทศตูนีเซีย ซึ่งมีการอุดหนุนสินค้าด้อย เช่น ขนมปังและธัญพืชบางประเภท
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) แต่เดิม คือ สถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นหน่วยบริการสาธารณสุขด่านแรกที่รับผิดชอบดูแลสุขภาพของประชาชนในระดับตำบล โดยเกือบทั้งหมดจะไม่รับผู้ป่วยใน มีขีดความสามารถระดับปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือระดับปฐมภูมิ (Primary Care) กับฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้แก่ การตรวจรักษา พยาบาลขั้นต้น การฝากครรภ์ การให้บริการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (การให้วัคซีนเด็ก) การดูแลโภชนาการ การคุ้มครองผู้บริโภค การคัดกรองภาวะผิดปกติต่างๆ การดูแล ผู้พิการ ผู้สูงอายุ การฟื้นฟูสมรรถภาพ และบริการอื่นๆ ให้กับชุมชน (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการโอนย้าย รพ.สต. บางส่วนไปอยู่ในสังกัดของ อบจ/อบต/เทศบาล)
โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในระดับอำเภอ โดยทุกอำเภอในประเทศไทยจะมีโรงพยาบาลชุมชนรับผิดชอบอยู่ รับทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในมีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ หรือระดับทุติยภูมิในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 10-120 เตียง ในประเทศไทยมี อยู่ 720 แห่ง (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)
การดูแลเด็กเล็กถ้วนหน้าจนอายุ ถึง 6 ปี (นโยบายฝากท้องทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์) ฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้ทั่วประเทศโดยไม่มีเสียค่าใช้จ่าย โดยหญิงตั้งครรภ์จะได้รับบริการฝากครรภ์ 5 ครั้งตามมาตรฐานสากล (สัปดาห์ที่ 12 18 26 32 38) ส่วนเด็ก จะได้รับการดูแลต่อเนื่องจนอายุถึง 6 ปี และจะได้รับวัคซีนป้องกันโรค การติดตามพัฒนาการ ไอคิวและอีคิว (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
การดูแลสุขภาพแม่และเด็กแบบถ้วนหน้า (โครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต) โดยจะดูแลเด็กใน 3 ช่วงวัย คือ (1) ช่วงวัยที่ 1 หญิงตั้งครรภ์ (270 วัน) พัฒนาคุณภาพคลินิกฝากครรภ์ (ANC) อาทิ ฝากท้องเร็วเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ เพื่อคัดกรองความเสี่ยงในการตั้งครรภ์จากความพิการแต่กําเนิดและการติดเชื้อ (2) ช่วงวัยที่ 2 เด็กอายุ 0-6 เดือน (180 วัน) สอนสาธิตให้พ่อแม่/ผู้เลี้ยงดูเด็กทุกคนให้มีทักษะที่จำเป็น ติดตามการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ (3) ช่วงวัยที่ 3 เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี (550 วัน) พัฒนาคุณภาพคลินิกสุขภาพเด็กดี (WCC) อาทิ ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสําหรับทารกและเด็กเล็ก เฝ้าระวังและติดตามส่วนสูงน้ำหนักเด็ก ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก เยี่ยมบ้านโดยทีม PCC/ รพช./ รพ.สต./ อสม./ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว เพื่อติดตามการบริโภคอาหารหญิงตั้งครรภ์/หญิงให้นมบุตร จัดให้มีมุมนมแม่ในสถานประกอบการ/หน่วยงานราชการ (หน่วยบริการสาธารณสุขในเขตสุขภาพ)
บริการตรวจทางไกล (Telemedicine) ระบบเครือข่ายเชื่อมต่อระหว่างโรงพยาบาลหน่วยบริการ ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการให้คำปรึกษาหรือให้บริการทางการแพทย์ผ่านระบบวิดีโอคอล การตรวจวินิจฉัยและรักษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษาให้กับผู้ป้วย โดยเฉพาะผู้่ปวยที่อยู่ในชนบทห่างไกล เพื่อลดการเดินทางมาโรงพยาบาลและประหยัดเวลาในการ รอคอย (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
การให้ภูมิคุ้มกันโรคด้วยการฉีดวัคซีน โดยสิทธิประโยชน์จากบัตรทองครอบคลุมวัคซีนตามช่วงอายุ ได้แก่ (1) กลุ่มเด็กเล็ก อายุ 0-5 ปี : ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ตับอักเสบบี บาดทะยัก คอตีบ ไอกรน โปลิโอ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า หัด หัดเยอรมัน คางทูม ไข้หวัดใหญ่และไข้สมองอักเสบเจอี (2) กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6-24 ปี : ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก วัคซีนเอชพีวีป้องกันมะเร็งปากมดลูก (สำหรับนักเรียนหญิง ป.5) (3) กลุ่มผู้ใหญ่ อายุ 25-59 ปี : ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก (4) กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขี้นไป : ฉีดวัคซีน คอตีบ บาดทะยัก (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
การติดตามตรวจเยี่ยมประชาชน ที่บ้าน ทีมสหวิชาชีพของ รพช. และเจ้าหน้าที่ของ รพ.สต. โดยจะติดตาม ไปเยี่ยมประชาชนที่บ้านเพื่อประเมินและให้บริการด้านการแพทย์ รวมถึงจัดบริการ ให้ประชาชน อาทิ การจัดหากายอุปกรณ์ ด้านบริการทางสังคม เดือนละ 1-2 ครั้ง (หน่วยบริการสาธารณสุขระดับตำบลและอำเภอ ร่วมกับ อสม ผู้นำชุมชน)
การจัดหา/สร้างนักบริบาล อาสา สมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) จัดหลักสูตรการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุแบบอาชีพ และการจัดหลักสูตรการอบรมผู้ดูแลแบบอาสาสมัคร โดยอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านเป็นงานอาสาสมัคร ที่สามารถทําไปพร้อมกับอาชีพหลัก มีหน้าที่หลักในการให้บริการให้ความช่วยเหลือ อาทิ การเยี่ยมเยียนดูแลทุกข์สุข การให้ความรู้การให้ข้อมูลด้านบริการ ที่เป็นประโยชน์การให้คำปรึกษาเมื่อ เกิดปัญหาและการให้ความรู้เรื่องสิทธิ และการเข้าถึงสิทธิของผู้สูงอายุ (กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
การดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้บริการแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน มีเป้าหมายครอบคลุมผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 4 ประเภท คือ (1) ติดบ้าน (2) ติดบ้านและมีภาวะสมองเสื่อม (3) ติดเตียง (4) ติดเตียงและมีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงแต่ละรายจะมีแผนการดูแล (care plan) ตามชุดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งครอบคลุมบริการด้านสาธารณสุขประกอบด้วยการคัดกรอง การส่งเสริมป้องกันโรค กายภาพบำบัด การพยาบาลและเครื่องช่วยตามที่โครงการกำหนด และบริการด้านสังคมประกอบด้วยการช่วยเหลือ งานบ้าน การช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน อุปกรณ์การช่วยเหลือทางสังคมและการทำกิจกรรมต่างๆ (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดำเนินการร่วมกับชุมชน)
ศูนย์ดูแลและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ แบบดูแลรายวัน บริการแบบเช้าไป-เย็นกลับ สำหรับผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิต ประจำวัน และผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือในการอาบน้ำ แต่งตัว การเคลื่อนไหว การเข้าห้องน้ำ และการรับ ประทานอาหาร ให้ผู้สูงอายุได้พบปะเพื่อนหรือได้เข้าสังคมบ้างเป็นบางวัน (กรมกิจการผู้สูงอายุ พม. ร่วมกับ การเคหะแห่งชาติ)
การอุดหนุนค่าจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุหรือค่าใช้จ่ายในสถานดูแลผู้สูงอายุ ระยะยาวแก่ครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย เพื่อให้สมาชิกในครัวเรือนสามารถออกไปประกอบอาชีพ หารายได้ ลดภาระงานของอาสาสมัครในพื้นที่ ให้มีเวลาและทรัพยากรในการดูแลผู้สูงอายุที่มีความจำเป็นมากกว่า สร้างงานและสร้างรายได้ให้แก่คนในพื้นที่อื่นที่เข้ามารับหน้าที่ดูแล และยังเป็นการสร้างกำล้งแรงงานให้แก่ประเทศด้วย
การตรวจคัดกรองความผิดปกติของสายตาในเด็กวัยเรียน เด็กอายุ 3-12 ปีมีสิทธิได้รับการตรวจคัดกรองสายตา หากมีภาวะสายตาผิดปกติ จะได้รับบริการแว่นตาฟรี (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
บริการตรวจสุขภาพฟรี สำหรับผู้สูงอายุ ให้บริการตรวจสุขภาพฟรีสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและพักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถเข้ารับสิทธิการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจคัดกรองสุขภาพ ณ คลินิกผู้สูงอายุครบวงจร โดยคัดกรองตามรายการทั้ง 11 รายการ ได้แก่ ตรวจสุขภาพทั่วไป/ เจาะเลือดตรวจวัดระดับน้ำตาล/ ตรวจวัดระดับเม็ดเลือด/ ระดับไขมัน/ วัดภาวะความซึมเศร้า/ วัดภาวะสมองเสื่อม/ ประเมินด้านโภชนาการ/ ประเมินการใช้ชีวิตประจำวัน/ ประเมินภาวะกระดูกพรุน/ คัดกรองภาวการณ์กลั้นปัสสาวะไม่ได้/ ประเมินด้านการใช้ยา/ วัดภาวะพลัดตกหกล้ม/ โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพให้คำแนะนำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพ (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
การป้องกันโรคและการบาดเจ็บ จากการทำงานของแรงงานในระบบ นายจ้างดูแลสภาพแวดล้อมการทำงาน ให้เหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนด อาทิ ให้นายจ้างจัดฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยแก่ลูกจ้าง จัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยให้ลูกจ้าง จัดบริการตรวจสุขภาพของลูกจ้างก่อนทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ หากมีลูกจ้างได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงานจะมีกองทุนเงินทดแทนที่จะจ่ายค่าสินไหมให้ (กองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม)
การตรวจคัดกรองสุขภาพเด็ก วัยเรียนในโรงเรียน โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงเรียน เช่น การประเมินการเจริญเติบโต (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง) การตรวจสุขภาพทั่วไป (วัดสายตา ทดสอบการได้ยิน ช่องปาก) สุขภาพจิต รวมถึงมีการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ พร้อมติดตามอย่างต่อเนื่อง
การตรวจสุขภาพเกษตรกร โดยการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่านเลขที่ บัตรประชาชนตามสิทธิของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และจัดให้มีการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง อาทิ ปริมาณสารเคมีในร่างกาย รวมถึงจัดให้มีการเช็คระยะสุขภาพสำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงจากการทำงานน้อย ณ รพ.สต./รพช./คลินิกสุขภาพเกษตรกร พร้อมทั้งจัดเก็บข้อมูลสุขภาพและรายงานผลต่อไปยัง สปสช. และกระทรวงสาธารณสุข และให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยง
การตรวจสภาพแวดล้อมการทำงานของแรงงานนอกระบบ ทั้งเกษตรกร แม่ค้า/พ่อค้าหาบเร่แผงลอย และแรงงานรับจ้างทั่วไป ประเมินสภาพ แวดล้อมในการทำงานของแรงงานนอกระบบโดยอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างอาสาสมัคร อาชีวอนามัย (อส.อช.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมถึงสถานพยาบาล และแจ้งผลการตรวจสภาพแวดล้อมกลับไปยังแรงงานเองพร้อมให้คำแนะนำ พร้อมทั้งรายงานผลการตรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานไปให้สำนักงานสวัสดิการแรงงานจังหวัด
โรงเรียนพ่อแม่ในชุมชน ให้ความรู้ฝึกทักษะพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กอายุ 0-5 ปี ณ สถานบริการทุกระดับ ตั้งแต่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลประจำจังหวัด ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนระดับชั้นอนุบาล (กรมอนามัย ร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุขระดับตำบล และอำเภอ)
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและ การป้องกันโรค ให้บริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อาทิ คลินิกไร้พุง (DPAC : Diet & Physical Activity Clinic) ในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ เน้นให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย ลดการกินอาหารประเภทหวาน มัน เค็ม ลดการสูบบุหรี่ดื่มสุรา รู้จักจัดการกับอารมณ์ และหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน (กรมอนามัย ร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุขระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด)
บริการเลิกสูบบุหรี่/เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/เลิกยาเสพติด ให้คำปรึกษาการเลิกทางโทรศัพท์ และบริการในคลินิกเลิกบุหรี่/คลินิกเลิกเหล้า/คลินิกเลิกยาเสพติดตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ของรัฐทั่วประเทศ (กรมการแพทย์ และหน่วยบริการสาธารณสุขระดับตำบล อำเภอ จังหวัด)
กองทุนสุขภาพชุมชน/กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ (โดยเฉพาะการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลปฐมภูมิที่จําเป็น) สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กลุ่มประชาชนในพื้นที่จัดทํากิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมาย เช่น แม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ (สมทบงบประมาณจาก 3 ฝ่าย คือ ชุมชน (คนในชุมชนจ่ายเงินเข้ากองทุนรายเดือน) อปท. และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
การให้คำแนะนำ ความรอบรู้ ด้านสุขภาพ รวมถึงการเฝ้าระวังดูแล โดยการใช้กลไก อสม. รพสต. รพ.ชุมชน และสถาบันการศึกษาในพื้นที่
การเฝ้าระวัง คัดกรอง และส่งต่อผู้ป่วยในชุมชนเข้าสู่การรักษา โดยอาศัยเครือข่ายชุมชน โดยอาศัยเครือข่ายชุมชน ครอบคลุมทั้งโรคระบาด (อาทิ โควิด-19) ความเจ็บป่วยทางร่างกาย และอาการทางจิตต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถส่งต่อผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาได้ทันท่วงที ด้วยกลไกภความร่วมมือระหว่างชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ อาทิ การฝึกอบรมชุมชนให้สามารถประเมินอาการและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้ จากนั้นแกนนำชุมชนร่วมกับฝ่ายสาธารณสุขในพื้นที่ (เช่น รพ.สต. อสม) สำรวจข้อมูลคนในพื้นที่ พร้อมทั้งจัดทำแผนที่ปักหมุด “กลุ่มเสี่ยง” แล้วสังเกต เฝ้าระวัง ประเมินความเสี่ยง
การจัดตั้งโซนอาหารสุขภาพ/ตลาดนัดเพื่อสุขภาพ/ การจัดทำปิ่นโตสุขภาพ/โรงทานสุขภาพ โดยใช้ผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์ จากคนในพื้นที่ เพื่อเป็นการส่งเสริม การทำเกษตรปลอดภัยอีกด้วย
การจัดตั้งระบบการออมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ดําเนินการในรูปแบบของเงินออมส่วน บุคคล โดยให้ประชาชนที่มีงานทํา หรือทํางานอาชีพอิสระได้มีบัญชีเงินออมเพื่อใช้จ่ายด้านสุขภาพป็นของตนเอง และครอบครัว โดยต้องหักเงินเข้าบัญชี ในสัดส่วนที่แตกต่างกันตามแต่ช่วงอายุ (กรณีศึกษาจากประเทศสิงคโปร์)
สถานสงเคราะห์สำหรับคนไร้ที่พึ่ง จัดหาที่อยู่อาศัยพร้อมทั้งฝึกอาชีพให้ กลุ่มคนไม่มีที่พึ่ง โดยอุปการะคนไร้ที่พึ่ง 3 ประเภท คือ (1) คนเร่ร่อน ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง (2) คนไร้ที่พึ่ง ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม (3) คนขอทาน (กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ)
มิติด้านการเข้าถึงบริการ ความช่วยเหลือ และการมีส่วนร่วมในสังคม
แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย (เมนูแก้จน) ในด้านการเข้าถึงบริการ ความช่วยเหลือ
และการมีส่วนร่วมในสังคม
สายด่วนการบริการภาครัฐ และบริการทางสังคม (Hotlines) เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถ แจ้งข่าวร้องเรียน หรือขอความช่วยเหลือได้ อาทิ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) รับเรื่องราวร้องทุกข์หรือปัญหาต่าง ๆ ที่ประชาชนต้องการความช่วยเหลือ ศูนย์เอราวัณ สายด่วน 1646 (กรุงเทพมหานคร) เจ็บป่วยฉุกเฉิน ไม่สามารถไปโรงพยาบาลได้ สภาทนายความ สายด่วน 1167 : ปรึกษาปัญหากฎหมายฟรี และศูนย์พิทักษ์ เด็ก เยาวชน และสตรี สายด่วน 1192 (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
คลินิกแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ให้คำแนะนำปรึกษา ประสานเรื่องกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และแก้ไขปัญหาของสมาชิกในชุมชนในเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที
แพลตฟอร์มร้องทุกข์ออนไลน์ เป็นแพลตฟอร์มกลางให้สามารถแจ้งขอความช่วยเหลือและติดตามการให้ความช่วยเหลือของประชาชน (โพสต์ของความช่วยเหลือ และให้มีการโต้ตอบแจ้งว่าใครเข้าไปให้ความช่วยแหลือ รายงานสถานะ การให้ความช่วยเหลือ/ ให้มีการแจ้งเตือนขึ้นตามพื้นที่ ที่มีการขอความช่วยเหลือ)
อบรมเสริมสร้างศักยภาพผู้นำ ทั้งในการเป็นผู้ฟังที่ดี และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้สามารถเป็น ที่พึ่งพาแก่สมาชิกในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้สามารถรับเรื่องราว ร้องทุกข์จากลูกบ้าน ร่วมติดตามแก้ปัญหา และส่งต่อปัญหาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง
จัดตั้งพื้นที่ลงทะเบียนหรือจุดอำนวยความสะดวกในการรับสิทธิสวัสดิการ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถดำเนินการลงทะเบียนรับสิทธิได้ด้วยตัวเองได้ อาทิ ณ พื้นที่ทำการของ อบต. ธนาคาร โรงเรียน ศาสนสถาน การลงทะเบียนคนละครึ่ง (หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
บริการเชิงรุกที่ให้บริการถึงหน้าบ้าน ทั้งการลงทะเบียนรับสิทธิสวัสดิการ การติดตาม เพื่อตรวจสอบและสำรวจ การเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ ของภาครัฐ
อาสาสมัครสอนการใช้อุปกรณ์เพื่อเข้าถึงสวัสดิการทางออนไลน์ ร่วมกับสถานศึกษาในพื้นที่ในการให้นักเรียน นักศึกษาสอนวิธีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อขอรับ/รับสวัสดิการทางออนไลน์แก่ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอุปกรณ์แต่ไม่มีทักษะในการใช้งาน
การจัดการให้มีบัตรเลขประชาชนหรือการระบุตัวตน เพื่อให้มีสถานะบุคคลทางทะเบียนตามกฎหมาย โดยมีการดำเนินการดังนี้ (1) ออกบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน(บัตรขาว) แก่บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (ยังพิสูจน์สถานะทางกฎหมายว่าด้วยสิทธิในสัญชาติไม่ได้ หรือพิสูจน์ได้แล้วว่า เป็นคนต่างด้าวก็ยังส่งกลับประเทศต้นทางไม่ได้) (2) ออกหนังสือรับรองคนไร้รากเหง้า แก่กลุ่มเด็กไร้รากเหง้า (คนที่เกิดและอาศัยอยู่ในไทยแต่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง และกลุ่มคนที่ไม่ได้เกิดในไทยแต่อาศัยอยู่ในไทย) (3) ออกบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) แก่ชนกลุ่มน้อยและ กลุ่มชาติพันธุ์ 19 กลุ่ม หรือคนต่างด้าว ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง) (กรมการปกครอง ระทรวงมหาดไทย)
การประชาสัมพันธ์ข่าวสารของพื้นที่หรือมาตรการ/โครงการผ่านระบบออนไลน์หรือสื่อสาธารณะ อาทิ Facebook Line Official SMS แจ้งทางโทรศัพท์ ข่าวสารจากโทรศัพท์หรือวิทยุ (อปท./หน่วยงานเจ้าของโครงการ)
การประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารผ่านเสียงตามสาย โดยผู้นำชุมชน หรือบุคคลในพื้นที่ (ผู้นำชุมชนหรือบุคคลในพื้นที่ดำเนินการเอง)
กองทุนยุติธรรม โดยจะเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชน ในการดำเนินคดี การปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน (กองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม)
ทนายอาสา โดยมีการจัดหาทนายช่วยเหลือโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแก่บุคคลยากไร้ ไม่มีรายได้ โดยเป็นเรื่องหรือคดีความที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมถึงให้คำแนะนำข้อกฎหมายกับประชาชนที่เดือดร้อน มีข้อสงสัยใน ข้อกฎหมาย หรือต้องการฟ้องร้องคดีกับคู่กรณีในเรื่องต่าง ๆ (สำนักงานสภาทนายความ)
การปรับปรุงกลไกของกองทุนยุติธรรมให้สามารถช่วยเหลือผู้เดือดร้อนได้มากขึ้น อาทิ การหาช่องทางการเพิ่มรายได้ให้แก่กองทุนยุติธรรม นอกจากเงินที่ได้จากงบประมาณที่เป็นเงินสนับสนุนจากภาครัฐ อาทิ ค่าขึ้นศาล ค่าทนายความ หลักประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ศาลสั่งริบ การปรับเกณฑ์การพิจารณาให้ความช่วยเหลือให้ชัดเจน และการย่นระยะเวลาการอนุมัติการให้ความช่วยเหลือ
การเพิ่มแรงจูงใจให้มีทนายอาสามากขึ้น อาทิ การให้รางวัลเชิดชูเกียรติ การให้ทุนการศึกษา การปรับอัตราค่าตอบแทนของทนายความอาสา
องค์กรสวัสดิการชุมชน เป็นการรวมกลุ่มของชุมชนเพื่อจัดตั้งกองทุนสวัสดิการด้านต่างๆ อาทิ สุขภาพ การศึกษา คลอดบุตร งานศพ งานบวช ของสมาชิกในชุมชนเอง โดยให้สมาชิกสมทบเงินเข้ากองทุนฯ เป็นรายเดือน หรือรายปีตามสะดวก ในจำนวนที่ไม่มากเกินไป (ชุมชนในพื้นที่ดำเนินการเอง)
โครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน โดยจะสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนขึ้นมาดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันภายในชุมชน และเป็นรากฐานของการสร้างหลักประกันความมั่นคงของคนในชุมชน รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาความเข้มแข็งและสมทบงบประมาณกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มีการจัดตั้งขึ้นให้สามารถขยายฐานสมาชิก ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้น และพัฒนาสวัสดิการชุมชนให้หลากหลายมากขึ้น (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน))
วัด (องค์กรทางศาสนา) ให้ความช่วยเหลือแก่คนในพื้นที่เมื่อเหตุฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤต อาทิ แจกจ่ายของอุปโภคบริโภคเมื่อเกิดภัยน้ำท่วม สอนหนังสือแก่เด็ก และโครงการบุญซ่อมบ้าน คนแม่กลองไม่ทิ้งกัน ที่ช่วยซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชน (แต่ละวัดได้มีการดำเนินการเอง)
สถาบันการศึกษาในพื้นที่ร่วมถ่ายทอดนวัตกรรม และองค์ความรู้เพื่อสร้างโอกาสและพัฒนาคุณภาพชีวิต อาทิ มรภ.อุดรธานี ริเริ่มโครงการตรวจสุขภาพคนในชุมชน จนนำมาซึ่งการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ทั้งเกษตรอินทรีย์ และเกษตรปลอดภัย โดยให้คนในชุมชนได้มีอาหารที่ปลอดภัยรับประทาน
การประยุกต์ใช้กลไก “บวร” ในการช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจน โดยมีการบูรณาการกลไกทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่ บ้าน (ชุมชน) วัด (สถาบันทางศาสนา) โรงเรียน (สถาบัน การศึกษา) โดยร่วมกันสนับสนุนองค์ความรู้และทรัพยากรบุคคลในการถ่ายทอดความรู้ ทั้งงานวิชาการและเทคโนโลยีให้แก่ประชาชน วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่รวมถึงการสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ และ วัดร่วมดูแลช่วยเหลือคนในชุมชนในภาวะวิกฤต ทั้งการสนับสนุนทรัพยากร ให้ยืมสถานที่ และปลอบโยนและขัดเกลาจิตใจ
การจูงใจและอำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตามความเชี่ยวชาญ อาทิ การฝึกอบรมและการจ้างงานผู้ยากไร้ การรับนักศึกษาจากครัวเรือนยากจน เข้าฝึกงานในสถานประกอบการ พร้อมทั้ง สนับสนุนให้เกิดการดำเนินการกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง
การสร้างช่องทางและจัดกิจกรรมให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่การออกแบบโครงการ/มาตรการ จนถึงการติดตามประเมินผล อาทิ การสร้างแพลทฟอร์มในการแสดงความเห็น การระดมความเห็นในระดับพื้นที่ การจัดประกวดแข่งขันการออกแบบนโยบายมาตรการแก้จนที่หน่วยงานของรัฐสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้
การบูรณาการฐานข้อมูลของระบบสวัสดิการ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เชื่อมโยงบนฐานข้อมูลเดียวกัน โดยเมื่อประชาชนทุกคนแสดงข้อมูลส่วนตัวและเศรษฐฐานะทั้งหมดแล้ว สามารถรับทราบข้อมูลและรับสวัสดิการตามสิทธิได้ในระบบเดียวกัน โดยไม่ต้องไปลงทะเบียนใหม่ทุกครั้งที่มีการเปิดรับสิทธิ
บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิต ตั้งแต่ระดับโนบาย จนถึงระดับปฏิบัติ ให้มุ่งสู่ระบบสวัสดิการในทิศทางเดียวกัน ลดปัญหาการซ้ำซ้อนและตกหล่นของ ผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์
การวางแนวทางเพื่อริเริ่มการใช้ระบบภาษีเงินได้ติดลบ (Negative Income Tax: NIT) โดยกำหนดให้ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์เงินได้ขั้นต่ำ (Income Threshold) สามารถรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลได้ตามส่วนต่างและอัตราการชดเชย (Rate of Subsidy) ที่กำหนดไว้ ซึ่งระบบ NIT มีการประยุกต์ ใช้แล้วในบางประเทศ อาทิ ระบบ Earned Income Tax Credit (EITC) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และสวีเดน
การออกแบบโครงการ/มาตรการ/แนวทางที่สอดคล้องและคำนึงถึงความต้องการของประชาชน กลุ่มเป้าหมาย และบริบทของพื้นที่ โดยอาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์ อาทิ ข้อมูลจากระบบ TPMAP เป็นเครื่องมือ ในการชี้กลุ่มเป้าหมายที่ต้องเร่งดำเนินการของพื้นที่ในระดับต่าง ๆ ข้อมูลจากระบบ eMENSCR
การสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นแก่อาสาสมัครที่ดำเนินงานในระดับพื้นที่ อาทิ งบประมาณ เครื่องมือ และอุปกรณ์ รวมถึงการฝึกอบรมเพิ่มเติมความรู้และความเชี่ยวชาญแก่อาสาสมัครที่เข้ามาดำเนินการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่/ชุมชน
การติดตามและประเมินผล ทุกโครงการและมาตรการอย่างรัดกุม เพื่อให้โครงการ/มาตรการที่ส่งผลต่อ การยกระดับคุณภาพชีวิตและความกินดีอยู่ดีของประชาชนในระดับสูงได้รับการจัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่อง และก่อให้เกิดการพัฒนาในการดำเนินการโครงการ/มาตรการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น